bloggang.com mainmenu search



cigarette01

หากถามคนสูบบุหรี่ว่า "ทำไมต้องสูบบุหรี่" คำตอบที่ได้รับจากบุคคลเหล่านี้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ คือ "สูบเพื่อคลายเครียด" คำตอบนี้ทำให้คนติดบุหรี่เกิดความรู้สึกว่าบุหรี่ยังคงมีประโยชน์สำหรับตัวเขาและไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะสามารถทำให้เขาตัดสินใจเลิกมันได้ แต่ในความเป็นจริงนั้นบุหรี่ไม่ได้มีประโยชน์แต่อย่างใด ซ้ำยังก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพและระบบต่างๆในร่างกายมากมาย ทั้งต่อตัวผู้สูบโดยตรงและบุคคลรอบข้าง

กลไกการเสพติดนิโคตินจากบุหรี่
นิโคติน คือสารเคมีที่มีอยู่ตามธรรมชาติในใบยาสูบ เมื่อสูบหรือเคี้ยวสารนิโคตินจะซึมผ่านถุงลมในปอดหรือเยื่อบุช่องปากเข้าสู่กระแสเลือด และเลือดจะถูกสูบฉีดไปยังสมองภายในเวลาเพียงเจ็ดวินาที นั่นหมายความว่าภายในเวลาเพียงเจ็ดวินาทีที่ได้สูบบุหรี่ จะทำให้คนสูบรู้สึกสบายผ่อนคลายมากขึ้นซึ่งสืบเนื่องจากก่อนหน้านั้นที่มีความรู้สึกไม่สบายตึงเครียดเนื่องจากภาวะขาดนิโคตินนั่นเอง

ในการสูบบุหรี่แต่ละครั้งนิโคตินที่ได้รับจะถูกทยอยขับออกมา คนติดบุหรี่จำเป็นต้องสูบมวนถัดไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาระดับนิโคตินให้คงอยู่และสามารถทำให้เขารู้สึกสบายผ่อนคลายไว้ได้ หากตราบใดที่ระดับนิโคตินในร่างกายลดต่ำลงผู้ติดบุหรี่จะเกิดความรู้สึกไม่สบาย/ตึงเครียด/เสี้ยนยาขึ้นมาทันที ดังนั้นการสูบบุหรี่เพื่อคลายเครียดเป็นเสมือนข้ออ้างที่ผู้สูบใช้บอกกับตัวเองเมื่อต้องการรักษาระดับนิโคตินในกระแสเลือดเท่านั้น และในบุหรี่ไม่มีสารใดๆ ที่สามารถขจัดความเครียดหรือแก้ปัญหาให้กับบุคคลนั้นได้

พิษภัยของบุหรี่
ในบุหรี่หนึ่งมวนประกอบด้วย ใบยาสูบกระดาษที่ใช้มวน และสารเคมีหลายร้อยชนิดที่ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นและรส เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้เกิดการเผาไหม้ก่อให้เกิดสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ใน 250 ชนิดมีผลอันตรายต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมากกว่า 60 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง

ภาวะเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่เกิดจากการสูบหรือสูดควันบุหรี่
โรคมะเร็ง 11 ชนิด : มะเร็งปอดมะเร็งช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหารส่วนต้น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งไตมะเร็งเต้านมมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมะเร็งตับอ่อนมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งปากมดลูก
โรคระบบทางเดินหายใจ : ถุงลมโป่งพอง/ปอดยืด ปอดบวม ปอดเสื่อม หอบหืดรุนแรง วัณโรค การพัฒนาปอดของทารกในครรภ์ไม่สมบูรณ์ โรคทางเดินหายใจในเด็กเล็กและบุคคลรอบข้างที่ได้รับควันบุหรี่
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคอื่นๆ เช่น ต้อกระจกตากระดูกพรุนเบาหวาน ร่างกายทรุดโทรมเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
เทคนิคง่ายๆ ในการอดบุหรี่ด้วยตัวเอง
1. สำรวจความพร้อมของตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีมาก-น้อยแค่ไหน

2. หาเป้าหมายในการเลิกให้เจอ เลิกเพื่ออะไร ?

3. สร้างกำลังใจ ความตั้งใจ มุ่งมั่นจริงจัง

4. หลีกเลี่ยง / ตัดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการอยากบุหรี่

5. หากิจกรรมอื่นๆ มาทดแทน เช่น การออกกำลังกาย

6. หากในระหว่าง 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน มีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย อยากสูบมากให้ใช้ตัวช่วยดังนี้

ใช้รสเปรี้ยวจากมะนาวโดยหั่นมะนาวทั้งลุกเป็นแว่นบางๆ ใช้อม/เคี้ยว
ใช้น้ำเปล่าอมแล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำๆ
ใช้สมุนไพร เช่น ชาชงหญ้าดอกขาว กานพลู
ไม่ควรใช้ลูกอม/หมากฝรั่งรสเมนทอลเพราะจะกระตุ้นความยากบุหรี่
7. มีวิธีการป้องกันการกลับไปสูบซ้ำ โดยให้ระลึกเสมอว่าหากมีมวนที่หนึ่งย่อมต้องมีมวนต่อไปตามมาอย่างแน่นอน รู้จักหลีกเลี่ยงและจัดการตัวกระตุ้นทั้งจากภายนอกและภายใน

ตัวกระตุ้นภายนอก ได้แก่ เพื่อนที่สูบบุหรี่ สถานที่ชอบไปสูบบุหรี่ อุปกรณ์ต่างๆ เช่นที่เขี่ยบุหรี่ ไฟแช็ค เป็นต้น
ตัวกระตุ้นภายใน ได้แก่ พฤติกรรมความเคยชิน เช่นเคยสูบบุหรี่ตอนนั่งส้วมก็ควรถือเป็นหนังสือพิมพ์ หรือวารสารเข้าไปอ่านแทนหรือสูบบุหรี่หลังทานอาหารก็ควรปรับโดยการแปรงฟัน ใช้น้ำยาบ้วนปากแทน นอกจากนั้นยังมีสภาวะทางอารมณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นภายใน เช่น หงุดหงิด โมโห ก็ควรควบคุมอารมณ์ด้วยการผ่อนคลายอาจจะนวดผ่อนคลายหรือออกกำลังกายหรือหลีกหนีจากสถานการณ์ตรงนั้นหากไม่สบายใจก็หาที่ปรึกษาพูดคุยระบายออกมาและช่วยกันหาวิธีแก้ไข หากเบื่อ/เหงาก็ควรหากิจกรรมที่ชอบทำให้เพลิดเพลิน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจากและรูปภาพ : honestdocs.co

ดูบทความดีๆได้ที่ : //www.thaihomeonline.com หรือ LINE@ : @thaihomeonline  ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  Thaihomeonline.com หรือ Line@ : thaihomeonline - ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน 

คลิกเลย : https://www.thaihomeonline.com

Create Date :01 ตุลาคม 2561 Last Update :1 ตุลาคม 2561 16:34:55 น. Counter : 204 Pageviews. Comments :0