bloggang.com mainmenu search



sleepy01

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกง่วงนอนหลังจากกินอาหารกลางวัน และบางคนอาจเข้าใจผิดว่านั่นเกี่ยวข้องกับการกินอาหาร

บางคนเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดจากสมองไปที่กระเพาะหรือระบบทางเดินอาหารเพื่อช่วยในการย่อย และถึงแม้ว่าแนวคิดนี้ฟังดูเป็นไปได้แต่มันก็ไม่ได้อธิบายอะไรมากนัก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ทำไมเราถึงไม่รู้สึกง่วงหลังจากที่กินมื้อเช้ามื้อใหญ่หรือหลังจากกินมื้อเย็นล่ะ ? ความจริงก็คืออาการง่วงนอนนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร แต่เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น

บางคนอาจเถียงว่ามันมีสารอาหารบางอย่างภายในอาหารที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ ตัวอย่างเช่น โมเลกุลย่อย ๆ ของฮอร์โมนที่ชื่อเมลาโทนิน แต่ถึงแม้ว่าเมลาโทนินจะมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการนอน แต่ระดับของฮอร์โมนต่ำ ๆ ในอาหารนั้นไม่น่าจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างชัดเจน มีอาหารหลายชนิดที่อาจทำให้คุณรู้สึกง่วงนอน เช่น ไก่งวงและอาหารที่มี tryptophan นอกจากนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ก็ทำให้ง่วงได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วนี่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาการง่วงนอนหลังกินอาหารเที่ยงแต่อย่างใด

ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้แทบไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่กินเลย (หรือแม้จะไม่ได้กินก็ตาม) แต่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่เพิ่มระดับความง่วงตามธรรมชาติ มี 2 ปรากฏการณ์ที่สามารถอธิบายได้คือ ความต้องการที่จะนอนและวงจรเวลาในแต่ละวัน ความต้องการที่จะนอนนั้นเกิดจากการสะสมอย่างช้า ๆ ของสารเคมีในสมองที่ชื่อ adenosine

ยิ่งตื่นนานมากขึ้นเท่าไรก็จะมีการสะสมของสารนี้มากขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดความอยากนอน ความอยากนอนนี้จะมีมากที่สุดในช่วงก่อนเข้านอน แต่ก็มีระดับที่สูงในช่วงบ่ายเมื่อเทียบกับช่วงเช้า

ปรากฏการณ์ที่ 2 ที่ส่งผลโดยอ้อมต่ออาการง่วงนอนคือกลไกวงจรเวลาในแต่ละวันของร่างกาย วงจรนี้คือรูปแบบของสัญญาณการตื่นนอน โดยจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลาเพื่อให้เราตื่นนอน และถ่วงน้ำหนักกับการสะสมของ adenosine จะมีช่วงเวลาที่วงจรนี้ลดต่ำลงในช่วงบ่าย หรือประมาณ 7-9 ชั่วโมงหลังตื่นนอน ดังนั้นเมื่อสัญญาณการตื่นของเรามีน้อยลงก็จะทำให้ความง่วงนอนแสดงออกมากขึ้นและทำให้เราเกิดความง่วง

ถึงแม้ว่าเราจะสามารถอธิบายอาการง่วงนอนหลังจากกินมื้อกลางวันได้ แต่ก็มีหลายเวลาที่เราอาจจะง่วงนอนเกินไป หากคุณกำลังอยู่ในช่วงอดนอน อาการง่วงนอนตอนกลางวันนี้ก็อาจจะชัดเจนขึ้นได้ นอกจากนั้นความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน เช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (obstructive sleep apnea) นี้ก็อาจทำให้อาการง่วงนอนรุนแรงมากขึ้นได้

คุณอาจจะใช้คาเฟอีนหรือนอนหลับสั้น ๆ 10-20 นาทีเพื่อแก้ไขอาการง่วงนอนที่เกิดขึ้นนี้ หรือถ้าหากคุณผ่านช่วงนี้ไปได้ คุณก็จะรู้สึกตื่นตัวตามปกติในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจาก : honestdocs.co

ดูบทความดีๆได้ที่ : //www.thaihomeonline.com หรือ LINE@ : @thaihomeonline  ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  Thaihomeonline.com หรือ Line@ : thaihomeonline - ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน 

คลิกเลย : https://www.thaihomeonline.com

Create Date :01 ตุลาคม 2561 Last Update :1 ตุลาคม 2561 16:30:03 น. Counter : 264 Pageviews. Comments :0