bloggang.com mainmenu search

Topic เรื่องเด่น ประเด็นดัง






วันสตรีสากลได้ถือกำเนิดขึ้น
เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ
และการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน
จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากล
ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี



ความเป็นมาของวันสตรีสากล
เมื่อร้อยกว่าปีก่อน
ได้เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้แรงงานหญิง
เริ่มไม่พอใจกับการถูกเอารัดเอาเปรียบ
และการถูกกดขี่ข่มเหงจากนายจ้าง



ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ส่งผลให้แรงงานหญิงจำนวนนับหมื่นคน
ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงในนครนิวยอร์ก
ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีพ.ศ. 2451
เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงาน
เพิ่มค่าแรง ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน
และให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยให้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทัดเทียมกับผู้ชาย





ในอีก 2 ปีถัดมา
การประชุมสมัชชาสังคมนิยมนานาชาติ
ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
ได้มีนักเรียกร้องสิทธิสตรีชาวเยอรมันชื่อ
“คลาร่า แซทคิน”



ได้เสนอให้มีวันสตรีสากล
เพื่อรำลึกถึงการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี
และ ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญ
ของความเสมอภาคดังกล่าว
ตัวแทนสตรีกว่าร้อยคนจาก 17 ประเทศ
ทั้งหมดเห็นชอบกับข้อเสนอของคลาร่า
แต่ยังมิได้ระบุวันแต่อย่างใด




จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2460
สตรีชาวรัสเซียได้ชุมนุมประท้วงครั้ง
เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการสูญเสียทหารกว่า 2 ล้านนาย
ในสงครามโลกครั้งที่ 1



การประท้วงครั้งนี้ส่งผลให้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
แห่งจักรวรรดิรัสเซียต้องสละราชบัลลังก์
จากนั้นจึงมีการมอบสิทธิในการเลือกตั้งให้กับสตรีชาวรัส
วันสตรีสากลจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้นมา




ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา
กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้า
ได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ
จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน
ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก
ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว
เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง
แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก



ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า แซทคิน
ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมัน
ลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907

โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงาน
จากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง
พร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน
และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม
แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก
และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน





แต่อย่างไรก็ตามอีก 3 ปีต่อมา คือ
ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910
ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ
เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ
เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2
ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก



ที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี
โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง
ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง
และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย
อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย



นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น
ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า แซทคิน
ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล



วันสตรีสากลในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา




ไทยรายงานผลการทำงานด้านสตรีประจำปีต่อสหประชาชาติ
พร้อมรับแนวทางปี 2554
เน้นสตรีกับการพัฒนาชนบท

ส่วนงานวันสตรีสากลปีนี้ ไทยจัดวันที่ 16 มี.ค.
เตรียมมอบรางวัลเกียรติยศ 19 สาขา
รวม 32 รางวัล อาทิ..



รางวัลบุคคลดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย
และการคุ้มครองสิทธิสตรี,
สตรีดีเด่นในเวที/
เครือข่ายระดับสากล,
สตรีดีเด่นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม,
สตรีดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน เป็นต้น






ขอให้ผู้หญิงทุกคนมีความสุขในทุกวัน
ไม่เฉพาะวันสตรีสากลนะคะ


Create Date :08 มีนาคม 2554 Last Update :9 มีนาคม 2554 21:12:54 น. Counter : Pageviews. Comments :22