2.รังฝึ้งแอร์ - Condenser
ที่กระจังหน้ารถยนต์ ติดกับหม้อน้ำรังผึ้งแอร์ มีลักษณะเหมือนหม้อน้ำ เป็นตัวระบายความร้อนของระบบแอร์รถยนต์ สองภาพถัดมาเป็นรังผึ้งแอร์ ที่มีรอยรั่วต้องทำการถอดเปลี่ยน รังฝึ้งแอร์ - Condenser เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ กำจัดความร้อนออกจากสารทำความเย็น โดยการผ่านความร้อนไปที่อากาศข้างนอก โดยมีพัดลมระบายอากาศช่วย โดยปกติจะมีพัดลมระบายอากาศของเครื่องยนต์ที่เป่าหม้อน้ำ และพัดลมไฟฟ้าสำหรับระบบแอร์ช่วยทำงาน เมื่อความร้อนลดลง สารทำความเย็นจะเปลี่ยนสถานะจากไอความดันสูง เป็นของเหลวความดันสูง
3.กรองน้ำยาแอร์
มีอยู่หลายแบบแตกต่างกันตามชนิดของรถยนต์ มีทั้งแบบที่มีกระจกด้านบนเพื่อใช้ตรวจสอบการพร่องของสารทำความเย็นด้วยการมอง หรือแบบทึบไม่มีกระจก การตรวจสอบทำโดยการตรวจวัดความดันของสารทำความเย็น ตามทฤษฎี เมื่อทำการซ่อมบำรุงระบบทำความเย็น และทำการเปิดระบบ แนะนำให้ทำการเปลี่ยน กรองน้ำยาแอร์ หรือ Receiver-Drier ด้วยทุกครั้ง เพราะการเปิดระบบหมายถึง อากาศสามารถเข้าไปในตัว กรองน้ำยาแอร์หรือReceiver-Drier ซึ่งจะทำให้สารดูดซับความชื้นเสื่อมสภาพได้
กรองน้ำยาแอร์ หรือ Receiver-Drier เป็นอุปกรณ์ที่ำทำหน้าที่ เก็บสารทำความเย็นเพื่อที่จะส่งต่อไปให้วาวล์แอร์ฉีดสารทำความเย็นเข้าสู่ตู้แอร์ Receiver-Drier ยังมีสารดูดความชื้นเพื่อทำการดูดซับความชื้นในสารทำความเย็น และกรองสิ่งเจือปนต่างๆ ขนาดของ กรองน้ำยาแอร์-Receiver-Drier มีหลายขนาด การติดตั้งต้องดูสัญลักษณ์ลูกศร IN/OUT ซึ่งเป็นตัวบอกถึงการไหลของสารทำความเย็น สารทำความเย็นต้องไหลจาก Condenser ไปที่ Evaporator
4. วาวล์แอร์-Expansion Valve
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ฉีดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์เข้าไปในตู้แอร์ สารทำความเย็นตัวนี้จะทำการนำพาความร้อนจากห้องผู้โดยสารออกมา ทำให้อุณหภูมิในห้องผู้โดยสารลดลง ความร้อนในห้องผู้โดยสารขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น จำนวนคนที่นั่งในรถยนต์ ความร้อนจากห้องเครื่อง ความร้อนจากแสงอาิทิตย์ โดยปกติวาวล์แอร์ จะมีตัวตรวจวัดอุณหภูมิติดตั้งไว้ที่ปลายทางของตู้แอร์ และจะเปิดหรือปิดวาวล์แอร์ เพื่อควบคุมการฉีดสารทำความเย็นเข้าสู่ตู้แอร์
5. ตู้แอร์รถยนต์-Evaporator
เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอนโซลในห้องผู้โดยสาร มีลักษณะเป็นท่อขดและมีครีบหลายหลายอันเพื่อนำพาความร้อนผ่านครีบและท่อขด ความร้อนจะแพร่ไปที่สารทำความเย็น สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอเมื่อได้รับความร้อน และจะถูกดูดออกโดยคอมเพรสเซอร์เืพื่อไปผ่านขบวนการทำให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง
6.สายน้ำยาแอร์ ประกอบด้วย
Suction Line หรือสายน้ำยาแอร์ใหญ่ เป็นสายน้ำยาแอร์ด้านความดันต่ำ ซึ่งต่อจากตู้แอร์ไปที่คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่นำสารทำความเย็น ที่มีสถานะเป็นไอความดันต่ำมาที่คอมเพรสเซอร์ เมื่อเราเอามือสัมผัสสายนี้จะเย็น
Discharge Line หรือสายน้ำยาแอร์กลาง เป็นสายน้ำยาแอร์ด้านความดันสูง ซึ่งต่อจากคอมเพรสเซอร์ไปที่คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่นำสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอความดันสูง ในการทำงานปกติ สายน้ำยาเส้นนี้จะร้อนเมื่อสัมผัส
v
Liquid Line หรือสายน้ำยาแอร์เล็ก เป็นสายน้ำยาแอร์ด้านความดันสูง ซึ่งต่อจากคอนเดนเซอร์ไปที่ Receiver-Drier ทำหน้าที่นำสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวความดันสูง ในการทำงานปกติ สายน้ำยาเส้นนี้จะอุ่นเมื่อสัมผัส
แป๊ป แผงแอร์-ไดเออร์
แป๊ป ไดเออร์-ตู้
6.พัดลมแอร์รถยนต์ (Bolwer)
ทำหน้าที่ในการนำอากาศเป่าไปที่คอยเย็นให้ความเย็นไหลผ่านมาจากช่องแอร์ ซึ่งมอเตอร์พัดลมจะถูกควบคุมด้วยสวิตซ์ปรับระดับแรงลมตามความต้องการของผู้ใช้
7. พัดลมหน้าแผงร้อน
ทำหน้าที่ในการระบายความร้อนให้กับแผงคอยร้อนเพื่อการปรับเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ซึ่งพัดลมจะทำงานประสานกับ ลมภายนอกตอนเวลาขับรถยนต์ทำให้ระบบการทำงานของแอร์รถยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง
1.www.royalairgas.com
2.www.okyoncarair.comข้อมูลอ้างอิง
ด้วยความปราถนาดีจาก
Super Cold Air Service@@@@แอร์รถยนต์ - ซุปเปอร์โคลแอร์เซอร์วิส
E-mail: Supercoldservice@gmail.com
Bloggang ://www.bloggang.com/viewblog.php?id=buranasak&group=8 Facebook : //www.facebook.com/?sk=welcome#!/supercoldservice