|
ความเป็นมา
คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกลุ่มวิชาการโบราณคดีใต้น้ำ จัดอบรมโบราณคดีใต้น้ำสำหรับบุคคลทั่วไป ระหว่างวันที่ 15 -18 พ ค 49 เพื่อเผยแพร่วิชาการโบราณคดีใต้น้ำให้กว้างขวาง ณ มหาลัยศิลปากร วันที่ 18 ทัศนศึกษา จันทบุรี ค่าลงทะเบียนทั้งหมด 600 บาท ภายในวันที่ 30 เม ย ติดต่อคุณ สุธาทิพย์ 022247684
sorry is under constuction กำลังพยายามสร้างเวบอยู่ครับ ด้วยความสามารถกะจ้อยร้อย ชาตินี้อาจจะสำเร็จ โปรดติดตามอย่างอดทน=//www.bloggang.com/data/underwaterarchaeology/picture/1129018432.jpg width='450' height='299' border=0>
กำเนิดโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทย ประเทศไทยเริ่มทำงานโบราณคดีใต้น้ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ที่อ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นอ่าวประวัติศาสตร์ ( ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องอ่าวไทยตอนใน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๒ สาเหตุที่กรมศิลปากรต้องทำงานด้านนี้อย่างจริงจังและกระทันหัน ทั้งๆที่ในขณะนั้นยังไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติงานใต้น้ำ และไม่มีอุปกรณ์ปฏิบัติงานใต้น้ำ ก็เนื่องมาจากมีชาวประมงพบซากเรือโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุประเภทเครื่องถ้วยสังคโลกจำนวนมากจมอยู่ในร่องน้ำลึกใกล้เกาะคราม จากนั้นข่าวได้แพร่ออกไปทำให้นักล่าสมบัติ นักแสวงโชคชาวไทยและชาวต่างประเทศชาติเข้าไปงมเครื่องถ้วยสังคโลกขึ้นมาขายกันอย่างเปิดเผยเป็นขบวนการใหญ่โต และมีผู้คนเข้าไปงมโบราณวัตถุกันเป็นจำนวนมาก ทำให้หลักฐานทาง วิชาการและมรดกทางวัฒนธรรมของชาติถูกทำลายเสียหายมาก นอกจากนี้นักดำน้ำแสวงโชคยังขยายการล่าสมบัติออกไปยังซากเรือจมโบราณแห่งอื่นๆด้วย เช่น ที่บริเวณใกล้เกาะสีชัง และบริเวณอ่าวพัทยา เป็นต้น การดำเนินงานโบราณคดีใต้น้ำระยะเริ่มต้นครั้งนั้น กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนช่วยเหลือจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพเรือ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการใต้น้ำพร้อมกับเรือ และอุปกรณ์ปฏิบัติการใต้น้ำมาช่วยดำเนินงานสำรวจ ขุดค้น กู้เก็บโบราณวัตถุ เครื่องถ้วยชามสังคโลก ที่แหล่งเรือจมโบราณใกล้เกาะครามได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ กรมศิลปากรยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศเดนมาร์กส่งผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีใต้น้ำมาช่วยแนะนำการปฏิบัติงานและร่วมการ ปฏิบัติงาน นับแต่ปีนั้นมา คนไทยและนานาชาติก็รู้จัก งานโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทย คณะทำงานเฉพาะกิจด้านโบราณคดีใต้น้ำของกรมศิลปากร เจ้าหน้าที่กองทัพเรือ และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเดนมาร์ก ได้ดำเนินงานขุดค้นเพิ่มเติมในบริเวณซากเรือจมโบราณใกล้เกาะคราม สำรวจพบซากเรือจมโบราณ และแหล่งโบราณคดีใต้น้ำอื่นอีกหลายแห่งในอ่าวไทย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ รัฐบาลไทยอนุมัติให้กรมศิลปากรจัดตั้งโครงการโบราณคดีใต้น้ำ บรรจุโครงการฯเข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นของกิจการงานโบราณคดี ใต้น้ำที่เป็นลักษณะประจำ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ รัฐบาลได้อนุมัติงบ ประมาณให้ก่อสร้างอาคาร สำนักงานโบราณคดี ใต้น้ำในที่ดินโบราณสถานค่ายเนินวง หมู่ที่ ๘ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็ได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมให้ก่อสร้างอาคาร ปฏิบัติงานทางทะเลอีกหลังหนึ่ง ในที่ดินราชพัสดุ ท่าแฉลบ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งงานโบราณคดีใต้น้ำได้ย้ายหน่วยงานไปตั้งทำ การเป็นการถาวรที่อาคารสำนักงานในค่ายเนินวง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาวิจัย สำรวจ ขุดค้นแหล่งโบราณคดีใต้น้ำทั่วประเทศ ไทย เป็นศูนย์จัดการฝึกอบรมหลักสูตรโบราณคดี ใต้น้ำระดับต่างๆ และปัจจุบันงานโบราณคดีใต้น้ำ ได้ปรับโครงสร้างการบริหารยกระดับเป็น กลุ่มวิชาการโบราณคดีใต้น้ำ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ มีข้าราชการปฏิบัติงานประจำ จำนวน ๑๓ คน ประกอบด้วย นักโบราณคดี ๒ คน นายช่างสำรวจ ๑ คน ช่างสำรวจ ๗ คน นายช่างโยธา ๑ คน และพนักงานขับรถยนต์ ๑ คน href="//www.bloggang.com/data/underwaterarchaeology/picture/1129185179.jpg" target=_blank> การฝึกอบรม การทำงานโบราณคดีใต้น้ำเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้งบประมาณมาก และเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องทำงานใต้น้ำ และด้วยเหตุที่กรมศิลปากร ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโบราณคดีใต้น้ำประจำ จึงต้องมีกิจกรรมเร่งด่วนในการสร้างและพัฒนาเจ้าหน้าที่ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆขึ้น ดังนี้โครงการบราณคดีใต้น้ำมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการศึกษาวิจัยเรื่องการพาณิชย์นาวีสมัยโบราณ โดยการสำรวจ - ขุดค้นแหล่งโบราณคดีใต้น้ำประเภทซากเรือจมโบราณ และด้วยเหตุที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโบราณคดีใต้น้ำประจำโครงการฯ จึงต้องมีกิจกรรมเร่งด่วนในการสร้างและพัฒนาเจ้าหน้าที่ โดยในระยะแรกได้รับโอนนายทหารผู้มีความสามารถใน การปฏิบัติงานใต้น้ำจำนวน ๔ นาย จากกองทัพเรือมารับราชการในกรมศิลปากร และจัดการอบรมหลักสูตรโบราณคดีใต้น้ำ ให้กับนักโบราณคดี ช่างเทคนิค ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(SPAFA) กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีข้อตกลงในการให้ความร่วมมือทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ ในสาขาวิชาโบราณคดีใต้น้ำ ประเทศไทยตกลงรับเป็นเจ้าภาพใน การฝึกอบรมให้กับนักโบราณคดี ช่างเทคนิคจากกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งนักโบราณคดีและช่างเทคนิคจากประเทศสมาชิกองค์กรรัฐมนตรีศึกษา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ภายใต้การประสานงานและสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง จากศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผลสำเร็จไปแล้ว ๗ ครั้ง มีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น ๗๙ คน ปัจจุบันผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติงาน อยู่ในประเทศต่างๆ การจัดการฝึกอบรมหลักสูตรบราณคดีใต้น้ำ ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันโบราณคดีใต้น้ำ และพิพิธภัณฑ์โบราณคดีทางทะเลประเทศออสเตรเลีย แคนาดา และฝรั่งเศส รวมทั้งมีอาสาสมัครชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาร่วมปฏิบัติงานในภาคสนามเป็นจำนวนมากนอกจากนั้น ในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโบราณคดีใต้น้ำของประเทศไทย รัฐบาลประเทศเดนมาร์กสนับสนุนทุนให้นักโบราณคดี นักดำน้ำ และนักวิทยาศาสตร์ เดินทางไปศึกษาดูงานด้านโบราณคดีใต้น้ำ และ การซ่อมสงวนรักษาโบราณวัตถุอุ้มน้ำ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๐
Create Date : 11 ตุลาคม 2548 | | |
Last Update : 21 มีนาคม 2549 15:29:36 น. |
Counter : 2750 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|