Group Blog
 
All blogs
 

กล้วยไม้ จากงาน ลพบุรี 2551

ไม่ได้แวะเข้ามานาน

ต้องขออภัยเพื่อนเก่าๆ ที่เคยแวะเวียนกันมา

เมื่อวันหยุดที่ผ่านมาได้ไปร่วมงานประกวดกล้วยไม้ที่ลพบุรีมา สนุกสนานเป็นอันดี กล้วยไม้มีหลากหลากสกุล เยอะแยะไปหมด

เสียอย่างเดียว ผมรู้สึกว่า ตัวเองพอไม่ชอบบางชนิด ก็ไม่ยักกะถ่ายภาพมา

แต่ภาพนำมาลงให้ชมนี่ ก็เยอะพอควรครับ เน้นไปทางดอกเล็กๆ สิงโตหน่อย มาโครกระจาย อิอิ

ชมกันเลยนะครับ



แบบว่า ไม่ได้เข้ามาบ้านนี้นาน เลยไม่ค่อยชิน

























อาจจะมีซ้ำกันไปบ้าง แต่เอาละ ภาพสุดท้ายละครับ แล้วพบกันใหม่คราวหน้านะครับ




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2551    
Last Update : 27 ตุลาคม 2551 17:42:51 น.
Counter : 2107 Pageviews.  

ความหลากหลายของไม้เมล็ด ฟาแลนฯ ไวโอ บ้านผมมีหลายชมพู



ผมเพียงอยากจะบอกว่า

สำหรับใครก็ตามที่ ทุบไม้ขวดออกมาแล้ว เมื่อตั้งใจเลี้ยงสักสองสามปี มีดอกแรกออกมาแล้ว

จะเป็นการสนุกสนานมาก เมื่อไม้เม็ด แต่ละเม็ด มีสีสัน รูปทรงที่แตกต่างกันออกไป

ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะได้ดังใจหมายไปเสียทุกครั้ง

แต่ความดีใจของการได้เห็นดอกไม้ที่เราเพียรปลูกมา ก็คือความสุข ที่ออกมาในรูปแบบอันหลากหลายของสีสัน และกลีบดอก



ต้นนี้ได้ดอกสีชมพูเข้มเต็มกลีบ

บางต้นได้ไม่เต็มที่

บางต้นดูเหมือนว่าในอนาคตท่าจะดี

เลี้ยงแล้วภูมิใจ พอต้นใหญ่จะได้ลองเอาไปประกวด หรือไม่ก็เอาไปโชว์สักที
เห็นดอกจริงจะตื่นเต้นกว่าดอกในเน็ต

เพราะว่าบางครั้งผ่านการแต่งสี ตั้งแต่การถ่ายกับแสงแดดดีดี สีสันมันก็จัดจ้านขึ้นเป็นธรรมดา



จริงๆ แล้วคงเป็นชมพูเดียวกัน
แต่ว่า ชมพูนี้เต็มกลีบดอกบาน

ต้นนี้ออกมาสองช่อ ดอกบานเก่ง

ต้นนี้ออกมากลีบหนาสวย น่าเก็บ
ต้นนี้น่าแบ่งไปให้เพื่อนเลี้ยง

หรือน่าเอาต้นอื่นมาผสม

ความคิดของคนรัก ที่จะเล่นกล้วยไม้จึงหลากหลาย และสร้างความน่าตื่นตาตื่นใจ บางคนผสมข้ามสายพันธุ์

บางคนใช้พันธุ์แท้แต่คนละต้น เพื่อพัฒนาสายพันธุ์



อย่างไรก็ดี
ผมเพียงแต่อยากจะบอกว่า

บางครั้ง การซื้อไม้ขวดมาเลี้ยงนั้น
ต้องตระหนักให้รู้ว่า ลูกไม้นั้นจะไม่เหมือน ต้นพ่อ ต้นแม่

แต่จะมีความหลากหลาย

หลากรูปทรงและสีสัน

และผมว่า นี่คือความสนุกสนานของการนำไม้ "เม็ด" มาเลี้ยง
ซึ่งแตกต่างกับไม้ "ปั่นตา" ที่แต่ละต้นจะเหมือนกันไปหมด

ว่าแต่ ของคุณมีสีชมพูอื่นอีกไหมครับ




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2551    
Last Update : 10 มิถุนายน 2551 10:46:29 น.
Counter : 1416 Pageviews.  

เอื้องสาย วารแห่งฤดูร้อน

หากเดินเข้าสู่ราวป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังร้อนแล้งในภาคเหนือ ภาคอีสานช่วงนี้ ถ้ามีใจแสวงหากับดวงตามุ่งหมายสักนิด แหงนหน้าไล่ตามกิ่งก้านต้นไม้ไร้ใบ อาจได้พบความงามและสีสันยั่วใจของเหล่ากล้วยไม้หลากชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ในกลุ่มที่เรียกกันว่า เอื้องสาย



ในฤดูแล้งร้อนเหล่านี้ เอื้องสาย หรือกลุ่มกล้วยไม้ในสกุล Dendrobium ซึ่งมีลักษณะลำลูกกล้วยยาว จะค่อยๆ ทยอยทิ้งใบจากลำต้น เพื่อลดการคายน้ำ จากนั้นจึงผลิตาดอกออกช่อ แล้วค่อยๆ ผลิบานแย้มรับมวลหมู่แมลงเพื่อมาผสมเกสรเพื่อที่จะกลายเป็นฝักอวบใหญ่ ต่อเมื่อฝนฤดูหน้ามาถึงจะแตกตัวส่งเมล็ดไม้จำนวนมหาศาลไปงอกยังที่ที่เหมาะสม ทั้งยังจะแตกหน่อลำต้นใหม่อีกครั้ง เพื่อการขยายพันธุ์ทั้งสองทาง

กลุ่มกล้วยไม้ที่เบ่งบานในช่วงนี้ มีทั้งเอื้องสายน้ำนม เอื้อสายล่องแล่ง กลีบชมพูปากเหลือง เอื้องสายหลวง กลีบชมพูอ่อนปากม่วงเข้ม เอื้องสายม่วงที่กลีบม่วงแต่ปากขาว เหลืองจันทบูรณ์ออกดอกเหลือง เอื้องแปรงสีฟันดอกเล็กแน่นช่อ



นี้ไม่นับรวมไปถึงกล้วยไม้อื่นๆ เช่น มัจฉานุ มอนไข่ เอื้องโมกสีชมพู เอื้องคำสีเหลือง เขาแกะสีมวง ที่ล้วนบานดอก บ้างส่งกลิ่นหอมหวลไปกับสายลม

ท้องฟ้าสีฟ้าเข้มในร้อนนี้ จึงมีสีชมพู ม่วง เหลือง ขาว คราม ทาบทับไปพร้อมๆ กัน





ลมร้อนแม้แสบผิว แต่สีสวยของกล้วยไม้ก็ช่วยให้เย็นตาชุ่มใจคล้ายร้อนได้เสมอ





 

Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2551 15:20:03 น.
Counter : 3936 Pageviews.  

เรื่องช้าง ยังไม่จืด

ในระยะสามสี่ปีมานี้ ตั้งแต่เริ่มหัดทุบขวดกล้วยไม้
กล้วยไม้ชนิดแรกที่ตั้งใจทุบ และตั้งใจเลี้ยงอย่างจริง ๆ จังๆ ก็คือ ช้าง



หลายคนคงคิดว่า ทำไมถึงเลือกช้าง
ผมมีเหตุผลอยู่สองสามข้อ ข้อแรกเลยก็คือ เป็นกล้วยไม้ที่ได้ยินชื่อเสียงมานาน
ข้อที่สองคือ ดอกของช้างนั้นมีกลิ่นหอม
และข้อที่สำคัญที่สุดคือ สีของช้างมีความหลากหลาย มาก


ช้างป่า ต้นทั่วไปนั้นคือ ช้างกระ แต่เมื่อลองดูหลายๆ ต้น ก็จะพบว่า จะมีทั้งกระกระจาย กระเล็ก กระน้อย หรือแทบจะไม่มีกระ (สีชมพูที่ป้ายอยู่บนพื้นสีขาว นักเลี้ยงกล้วยไม้เรียกว่ากระ) นั่นจึงเป็นเสน่ห์ของช้าง ที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกจะทุบขวดเลี้ยงเล่น แบบเอาจริงเอาจัง



บางช้างกระที่ สีปากออกไปทางชมพู กระน้อยจนแทบจะมองไม่เห็น หลายท่านก็บอกว่า นี่เป็น "ช้างประหลาด" ค่าที่ กระก็ไม่ค่อยจะมี แต่ปากยังสีชมพูอยู่ ไม่เผือกไปเสียให้รู้แล้วรู้รอดไป

ช้างป่า ที่สำคัญอีกเชือก ตามตำนานเล่านขานก็คือ ช้างแดง เป็นช้างกระที่กลายพันธุ์ให้พื้นกลีบเลี้ยงกลีบดอกสีแดงเข้ม อย่าถามผมว่ามีช้างแดงอะไรบ้าง เพราะขยายสายพันธุ์เพาะเลี้ยงกันมานาน จนได้ดอกโต ช่อแน่น สีเข้มสวย เรียกว่าใครเห็นใครก็ชอบใจ



อีกช้างที่ ชอบๆ กัน ก็คือ ช้างเผือก ช้างที่กลายพันธุ์จนสีสันหายไปเหลือแต่เพียงสีขาวโดดๆ นี่ก็นิยมกันไม่น้อย



ต่อมาเมื่อนักผสมพันธุ์เอาช้างแดง กลับมาผสมกับช้างกระบ้าง หรือเอามาผสมกับช้างเผือกบ้าง ก็ได้ช้างชนิดอื่นๆ ตามมาอีก

ช้างสำคัญในการนี้ คือ ช้างพลาย ที่มีปื้นสีชมพูหนาแน่น เต็มทุกกลีบ แต่เว้นระยะสีขาวไว้ตามโคนกลีบ หลายคนชอบว่าสีสันสนุกสนานดี



แต่ก็เกือบจะมาตกช้างตาย เมื่อพ่ายแพ้ความน่ารักของ ช้างการ์ตูนเรียก "การ์ตูน" อย่างนี้หลายคนคงสงสัย บางท่านก็เรียกช้างนี้ว่า ช้างปลาคาร์พ เพราะมีจุดสีชมพูกระจาย อยู่บนพื้นดอกสีขาว แต่บางกลีบก็ขาวล้วน บางกลีบก็มีจุดปื้นสีแดงเข้มปะปนอยู่ เหมือนกันสีสันของปลาคาร์พ






อีกชุดหนึ่งที่สร้างความฮือฮากันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก็คือ ช้างส้ม เป็นช้างที่กลายออกมาเป็นสีส้มโอโรสบ้าง สีปูนสดบ้าง สีอมส้มบ้าง บางต้นก็สีจืดชืด ดูไม่ได้ แต่ก็แปลกตา น่าชม



นี่แหละที่ผมว่า เรื่องช้าง ยังไม่จืด




 

Create Date : 09 มกราคม 2551    
Last Update : 9 มกราคม 2551 18:11:58 น.
Counter : 2252 Pageviews.  

จากเขากวางอ่อนสีแดง ถึง เขากวางอ่อนสีเหลือง

เขากวางอ่อน Phalaenopsis cornucervi
บางคนก็เรียกเอื้องม้าลาย เอื้องลายเสือ เพราะว่าลักษณะกลีบดอกมีความหลากหลาย

เรื่องเขากวางอ่อนนี่ ก็คงมีคนเขียนถึงไปหลายต่อหลายคนแล้วนะครับ แต่พอเห็นเขากวางอ่อนที่บ้านทีไร ก็ทำให้คิดว่า อืม กล้วยไม้ดอกเล็กๆ แบบนี้ สมัยโบราณเขาไม่สนใจจะเล่นกันเลย

เขากวางอ่อน มีหลากหลายเฉดสี มาก ตั้งแต่สีแดงเข้ม ปรากฏให้เห็นตั้งแต่โน่นน่ะครับ ฟิลิปปินส์ ชวา บอร์เนียว มาเลย์ มาจนถึงเมืองไทย ข้ามไปถึงพม่า ลาว เสียด้วยซ้ำ จะกระจายพันธุ์อย่างไร ก็ให้นักพฤกษศาสตร์เขาตามต่อกันนะครับ

แต่ผมมีข้อสังเกตนิดหนึ่งว่า หลังๆ มานี้ ผู้คนนิยมเลี้ยงเขากวางอ่อนมากๆ โดยเฉพาะต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น เขากวางอ่อน สีแดงๆ



แต่คราวนี้ มีหลายคนได้รับไม้นิ้วที่เป็นเขากวางอ่อน มาแล้วก็บอกว่าต้นพ่อต้นแม้สีแดงๆ

ปรากฏว่า หลายคนเลี้ยงมาสองสามปี ออกดอกมา ทำไมไม่แดง หรือว่า ทำไมแดงแต่ดอกใหญ่เหลือเกิน



ความจริงมันมีกล้วยไม้ลูกผสม ชื่อว่า วาเลนทินี หรือวาเลนไทน์ ที่เขาใช้ ฟาแลนเขากวางอ่อน ผสมกับ ฟาแลน ไวโอลาเซีย ลูกที่ได้ออกมาก็มีทั้งแดงจัด ชมพูเข้ม หรือออกเหลือง ทีนี้มีคนคัดสีแดงๆ มาผสมกับกวางที่สีเข้มๆ อีกที ลูกออกมาชั้นสามนี่ บางทีก็กลายเป็นเขากวางแดงๆ ไปเลย

จะซื้อจะหามาครอบครอง ก็สังเกตสังกากันสักนิดนะครับ

สำหรับต้นนี้ มีผู้มีอุปการะคุณให้มาครับ ก็จะพยายามเลี้ยงให้งามยิ่งๆ ขึ้นไป แค่เปลี่ยนที่แขวนจากร่มจัดๆ มาโดนแดดครึ่งวันเท่านั้น ออกดอกสวยเชียว

ก็เหลือแต่เขากวางสีเหลืองดอกนี้แหละครับ


ว่า ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะเปลี่ยนเป็นสีแดงๆ กับเขาบ้าง

เรื่องจะให้เขากวางเผือก กลับไปเป็นสีแดง หรือทำให้เขากวางสีแดงเป็นเขากวางเผือกเนี่ย จะทำได้ไหมล่ะครับ

บางอย่าง บางเรื่อง ก็ถูกระบายสีเสียจนไม่เห็นสีเดิม พื้นเดิม เรื่องเก่าแก่ดั้งเดิมของโบราณ ก็ถูกหลงลืมกันไป อาหารร้านไหน ร้านไหน ถ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองก็จะมีคนเข้าไปกินกันเยอะใช่ไหมครับ ยิ่งอร่อยด้วยยิ่งเยอะใหญ่

เลี้ยงกล้วยไม้นี่ก็เหมือนกันครับ จะชอบพันธุ์แท้ พันธุ์ผสม จะเหลือง จะลาย หรือจะแดงจัด ก็แล้วแต่รสนิยม แต่อย่าไปว่าคนอื่นเขานะครับ ว่าของเขาไม่ดีไม่งาม

กล้วยไม้ใคร เขาก็ว่างามตามสายตาตัวทั้งนั้นแหละครับ ขอให้ออกดอกมาเถอะ

กล้วยไม้ผมบานทีไร ผมก็ดีใจทุกที เพื่อนๆ ไม่เป็นแบบผมเหรอครับ




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 20 กันยายน 2550 18:34:58 น.
Counter : 3411 Pageviews.  

1  2  

เสือจุ่น
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เสือจุ่น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.