วิทยาศาสตร์มีอยู่ในทุกที่ เราสอนเราเรียนกันได้ทุกวัน
<<
มิถุนายน 2556
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
3 มิถุนายน 2556

นิยามสามคำจากเด็กๆ ร.ร. เทศบาลบ้านสามเหลี่ยม “ทึ่ง อึ้ง สนุก”

กิจกรรมสุดมันส์ ในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันนี้ เราพาไปที่โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม อ. เมือง จ. ขอนแก่น เพื่อร่วมสนุกกับกิจกรรมฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สัญจร ใน“เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 8” ซึ่ง “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น” (ศว. ขอนแก่น) ได้นำภาพยนตร์ดี ๆ ไปจัดฉาย ตามความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สถาบันเกอเธ่ อพวช. และองค์กรร่วมจัดอื่น ๆ


กิจกรรมนี้มีโรงเรียนแจ้งความจำนงที่จะชมเข้าภาพยนตร์ในเทศกาล ฯ กันอย่างล้นหลาม จนต้องจัดคิวให้พอดีกับโรงฉายของ ศว. ขอนแก่น ที่มีอยู่เพียง 2 โรงฉายเท่านั้น และเพื่อให้เด็กๆ ได้ชมภาพยนตร์กันอย่างทั่วถึงมากขึ้น ทางศูนย์ ฯ ยังได้เดินทางไปจัดฉายภาพยนตร์ควบคู่ไปกับกิจกรรมวิทยาศาสร์สัญจรไปยังโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่นด้วย


ว่าที่ ร.ท.ชำนาญ เรียนเลิศอนันต์ รักษาการ ผู้อำนวยการ ศว.ขอนแก่น เล่าว่า “ก่อนจะเปิดเทศกาล ฯ ศว. ขอนแก่น ได้ให้ระดมความคิดจากบุคลากร ศึกษารายละเอียดของภาพยนตร์ อ่านเพิ่มเติม เพื่อนำคอนเซ็ปท์มาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แล้วคิดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนให้สอดคล้องกับเนื้อหาของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสรุปความคิดรวบยอดให้กับนักเรียนภาพหลังจากชมภาพยนตร์”


สำหรับการฉายภาพยนตร์สัญจรตามสถานศึกษาของ ศว. ขอนแก่น ในปีนี้ตั้งแต่ เริ่มวันที่ 26 พ.ย. – 7 ธ.ค. 2555 เป้าหมายคือ โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาบ้านไผ่ โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง และโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม โดยทาง ศว. ขอนแก่น ได้จัดเตรียมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบจัดเต็มถึง 15 กิจกรรม สำหรับภาพยนตร์ที่คัดมาเพื่อการนี้จำนวน 5 เรื่อง พร้อมทั้งได้ตบท้ายด้วยมายากลวิทยาศาสตร์ อีก 4 – 5 ชุด เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่เด็ก ๆ


ภาพยนตร์ที่คัดสรรมาจัดฉายสัญจร จำนวน 5 เรื่อง ได้เลือกเรื่องที่ไม่ยาวจนเกินไป เน้นให้สอดคล้องกับช่วงวัย และให้นักเรียนได้ความรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรมของเรา ได้แก่ รายการ “ไซ แนร์ด” ตอน มหัศจรรย์พลังน้ำพุร้อน (เดนมาร์ก) รายการ “ไซคิว” ตอน มนุษย์กับปลาอยู่ด้วยกันได้ไหมที่ใต้ทะเล (แคนาดา) รายการ “เมาส์ทีวี” ตอน ระบบรถยนต์ไร้คนขับ (เยอรมัน) รายการ “เมาส์ทีวี” ตอน การล้างมือนั้นสำคัญไฉน (เยอรมัน) และรายการ “ไซน์คิดส์” พิชิตปริศนา ตอนที่ 8 เรื่อง เครื่องผ่อนแรงแบบเย็น (ไทย)


อาจารย์ไตรภพ ก้อนโฮม เจ้าหน้าที่ของ ศว. ขอนแก่น ซึ่งเป็นเรี่ยวแรงสำคัญอีกท่านหนึ่งในการจัดกิจกรรมสัญจรครั้งนี้เล่าให้เราฟังว่า อุปกรณ์ที่นำมาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ส่วนใหญ่ได้ดัดแปลงมาจากอุกรณ์จัด Science Show ที่ศูนย์ ฯ มีอยู่แล้ว บางส่วนก็จัดหาเพิ่มเติมจากวัสดุอุปกรณ์ที่หาง่ายในท้องถิ่น ซึ่งก็พบว่า เด็กๆ สนุกมากๆ กับกิจกรรมหลังชมภาพยนตร์


ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์มนุษย์กับปลาอยู่ด้วยกันได้ไหมที่ใต้ทะเล จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับการให้สัญญานใต้น้ำ แข่งขันเป่าหลอดเพื่อให้ความรู้ว่าเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร เป่าลูกโป่งเพื่อวัดความจุลมของปอด พร้อมทั้งแข่งเปล่งเสียงให้ยาวที่สุดและนานที่สุด








ภาพยนตร์มหัศจรรย์พลังน้ำพุร้อน ก็จะทดลอง ให้เด็กๆ ได้เห็นความหัศจรรย์ของแรงดัน ทำให้ไข่ต้มสุกที่ปอกเปลือกแล้วตกลงไปในขวดแก้วปากแคบๆ ได้ พร้อมทั้งให้เด็กๆ ช่วยหาวิธีทำให้ไข่ออกจากขวด นอกจากนั้นยังได้จำลองการเกิดน้ำพุที่เกี่ยวข้องกับแรงดันโดยใช้ขวดน้ำอัดลมเจาะรู หลอดและน้ำธรรมดา





ภาพยนตร์ระบบรถยนต์ไร้คนขับ ให้เด็กๆ ได้ทดลองดูว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง ภาพยนตร์การล้างมือนั้นสำคัญไฉน เด็กๆ ได้ทดลองให้เห็นถึงปฏิกิริยาของสบู่ที่มีต่อน้ำ ไขมัน และสิ่งสกปรก เปรียบเทียบการล้างมือด้วยสบู่ กับน้ำธรรมดา ดูว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร





ตลอดทั้งวันของกิจกรรม ที่จัด ณ ห้องประชุมขนาดใหญ่ในโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยมที่ดักแปลงเป็นห้องฉายภาพยนตร์ในวันนี้ นอกจากเด็กๆ จะได้เต็มอิ่มกับการชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ไปแล้ว ก็ยังได้ทดลองวิทยาศาสตร์สุดมันส์เพิ่มเติม เรียกทั้งเสียงฮา ! รอยยิ้ม ! เสียงหัวเราะ ! นอกจากนั้นเด็กๆ ยังได้ “ทึ่งมากๆ” กับมายากลวิทยาศาสตร์ที่ ศว. ขอนแก่น เปิดเวทีโชว์ช่วงปิดท้ายกิจกรรม ...“งึดหลาย” [ทึ่งมาก] ... เด็กๆ ว่ากันอย่างนั้น





ไปดูเด็กๆ โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยมเล่าให้เราฟังว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อกิจกรรมพิเศษๆ แบบนี้


เด็กหญิงสุธีธิดา โพธิรัตน์ ชั้น ม. 3 เล่าว่า ชอบ ภาพยนตร์มนุษย์กับปลาอยู่ด้วยกันได้ไหมที่ใต้ทะเล เพราะได้เห็นความน่ารักของโลมา ได้เห็นห้องวิจัยบนพื้นสมุทรและการสื่อสารใต้น้ำของปลา ให้เราได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ


นายพรพิบูล คำทุ่น ชั้น ม. 5 บอกว่า ชอบทุกเรื่องเลยครับ สนุกมาก ๆ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ สามารถเดินทางได้ ประทับใจที่มนุษย์สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้หลายอย่าง อนาคตถ้ามีรถแบบนี้ก็จะช่วยให้การเดินทางสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น ความรู้ที่ได้จากการชมภาพยนตร์สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้หลายอย่างเลยครับ


เด็กหญิงลัดดาวรรณ ปะระทัง ชั้น ม. 3 บอกว่า ชอบภาพยนตร์มหัศจรรย์พลังน้ำพุร้อน สนุก และก็ชอบมากๆ กับกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ที่พี่ๆ นำมาให้เราได้เรียนรู้ทดลอง ว่าน้ำพุร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร มีความคิดสร้างสรรค์มากที่สามารถนำข้าวของเครื่องใช้ธรรมดา ๆ ในบ้านมาทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ ในส่วนของมายากลก็แปลกใจมาก ที่พี่ๆ ทำได้เหมือนมีเวทมนตร์ อย่างเช่น ผูกเชือกไว้ แล้วตัดเชือก ทำไมเชือกถึงไม่ขาด ประทับใจมาก ขอบคุณพี่ๆ ทีมงานที่ทำให้พวกหนูมีโอกาสได้รับความรู้มากมายในครั้งนี้ค่ะ


เด็กชายอภิมุข จารย์โพธิ์ ชั้น ป. 5 เล่าว่า ชอบวิทยาศาสตร์ตรงที่ได้มีการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์ที่ชอบก็คือมหัศจรรย์พลังน้ำพุร้อน ชอบกิจกรรมตอบคำถาม และการทดลองหลังชมภาพยนตร์ โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับการหายใจของปลา ความจุปิด ได้เป่าลูกโป่งแข่งกันว่าใครจะเป่าลูกโป่งได้ขนาดใหญ่ที่สุด แข่งกันเป่าหลอด และพี่ๆ ยังได้สอนเทคนิคการเป่าหลอดเป็นเพลงให้ได้เสียงยาว ๆ ให้กับเราด้วย พี่เขาบอกว่าเคยเป่าหลอดที่ทำจากฟางเล่นสมัยตอนยังเด็ก และได้นำมาสอนพวกเราครับ สนุกมากๆ ครับ





ปิดฉากไปแล้วกับเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 ที่จัดไปเมื่อ 24 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2555 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทุกแห่งทั่วภูมิภาค และศูนย์จัดฉายอื่นๆ อีกหลายจังหวัดด้วยกัน


....... แล้วพบกันใหม่ในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 9 ในปีหน้าอย่างแน่นอน ติดตามข่าวสารได้เว็บไซต์ สสวท. //www.ipst.ac.th


อ่านต่อในวิชาการดอทคอม

อ่านต่อในเว็บไซต์ นสพ. บ้านเมือง

อ่านต่อในเว็บไซต์สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อ่านต่อในเว็บไซต์ นสพ. ข่าวสด





 

Create Date : 03 มิถุนายน 2556
0 comments
Last Update : 3 มิถุนายน 2556 14:46:13 น.
Counter : 14870 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Wit Thabungkan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




บทความและสกู๊ปข่าวที่เผยแพร่ในบล็อกนี้ทั้งหมดเป็นผลงานเขียนของ "สินีนาฎ ทาบึงกาฬ" ส่วนประชาสัมพันธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
[Add Wit Thabungkan's blog to your web]