Group Blog
 
<<
มีนาคม 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 

Logical Fallacy #2 - Circumstantial Ad Hominem

Logical Fallacy คือการ "อ้างเหตุผลโดยผิดหลักตรรกศาสตร์"
ซึ่งผมเคยได้เขียน blog ไปแล้ว เกี่ยวกับการอ้างเหตุผลแบบ false dilemma
วันนี้ผมอยากจะเสนอการอ้างเหตุผลผิดหลักตรรกศาสตร์ในรูปแบบ Circumstantial ad Hominem
หรือบางทีก็เรียกว่าแบบ Attacking the person

Circumstantial ad Hominem เป็นการอ้างเหตุผล โดยการพยายามโจมตีข้อสรุปหรือความเห็นของบุคคลอื่น
โดยการบอกว่าบุคคลนั้นๆ แสดงความเห็นหรือมีข้อสรุปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวแต่เพียงอย่างเดียว
ในบางกรณีก็จะใช้การโจมตีไปที่สภาพแวดล้อมหรือคุณสมบัติของบุคคลนั้นๆ
เช่น ศาสนา พรรคการเมือง วัฒนธรรม ฯลฯ


การอ้างเหตุผลผิดหลักแบบ Circumstantial Ad Hominem จะมีรูปแบบดังนี้

1. นาย A สรุปว่า X
2. นาย B โต้แย้งว่าที่ A สรุปว่า X เพราะว่า A มีส่วนได้ส่วนเสียกับกรณี X
3. ดังนั้น X เป็นเท็จ

หรือ

1. นาย A สรุปว่า X
2. นาย B โจมตีที่สภาพแวดล้อมของ A (เช่น ศาสนา พรรคการเมือง เชื้อชาติ)
3. ดังนั้น X เป็นเท็จ

การอ้างเหตุผลแบบ Circumstantial ad Hominem นั้นผิดหลักตรรกศาสตร์
เพราะว่าผลประโยชน์หรือสภาพแวดล้อมของบุคคล ย่อมไม่มีผลทำให้ข้อสรุปใดๆ ถูกหรือผิด
ในขณะที่ผลประโยชน์ของบุคคลใดๆ อาจจะเป็นแรงจูงใจให้สนับสนุนข้อสรุปนั้นๆ ก็ตาม
แต่ข้อสรุปจะถูกหรือผิดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับตัวข้อสรุปนั้นเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สนับสนุน

และในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติแวดล้อมของบุคคล (เช่น ศาสนา พรรคการเมือง ฯลฯ)
ก็ไม่มีผลต่อความจริงหรือเท็จของข้อสรุปใดๆ
กรณีนี้เห็นได้ชัดเจนจากตัวอย่างการอ้างเหตุผลดังเช่น
"นาย ก. สรุปว่า 1+1=2 แต่นาย ก. อยู่พรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นข้อสรุปของนาย ก. จึงผิด"

แต่ก็มีหลายกรณีที่การสงสัยในข้อสรุปของบุคคลนั้นถือว่าสมเหตุสมผล
เช่น เมื่อหลักฐานอ้างอิงเพื่อสรุปนั้นอาจมีการลำเอียงหรือเบี่ยงเบนไปเพื่อผลประโยชน์ของผู้สรุป
เช่น ถ้าบริษัทบุหรี่บอกว่าบุหรี่ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง ก็น่าจะเป็นการฉลาดถ้าจะไม่ยอมรับข้อสรุปนี้ง่ายๆ
เพราะว่าบุคคลคือบริษัทบุหรี่นั้นมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะสรุปเช่นนั้น แม้ว่ามันจะจริงหรือไม่ก็ตาม
(เพื่อผลประโยชน์ของบริษัท)

อย่างไรก็ดี การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีแรงจูงใจที่จะสรุปความเห็นให้เป็นไปในทิศทางใดๆ
ก็ไม่ได้มีผลทำให้ข้อสรุปนั้นเป็นเท็จแต่อย่างใด
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าแม่คนหนึ่งบอกลูก
ว่าจิ้มส้อมเข้าไปช่องเสียบหลอดไฟนั้นอันตราย แม้ว่าแม่จะมีแรงจูงใจ (ไม่อยากให้ลูกทำเช่นนั้น)
ก็ไม่ได้แปลว่าข้อสรุปนั้นผิดแต่อย่างใด

ต่อไปนี้คือตัวอย่างของการอ้างเหตุผลผิดหลักตรรกศาสตร์แบบ Circumstantial ad Hominem

1. "เธอบอกว่าเราต้องอัดฉีดงบทางการทหารมากกว่านี้ แต่นั่นไม่จริงหรอก ที่เธอพูดแบบนั้นก็เพราะว่าเธออยู่พรรค ปชป. เท่านั้นเอง"
2. "ผมว่าเราน่าจะปฏิเสธเรื่องที่หลวงพ่อพูดเกี่ยวกับปัญหาทางจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งนะ เพราะถ้าว่ากันตามจริง หลวงพ่อก็ต้องมีความคิดแบบนั้นอยู่แล้ว เพราะหลวงพ่อเป็นคาธอลิก"
3. "ส.ว. จากรัฐ Maine ก็ต้องต่อต้านนโยบายตัดงบประมาณกองทัพเรืออยู่แล้ว เพราะว่าบริษัท Bath Ironworks ที่เป็นบริษัทต่อเรือก็อยู่ในรัฐ Maine"
4. "Bill สรุปว่าส่วนลดภาษีสำหรับบริษัทจะทำให้การพัฒนาไปได้เร็วยิ่งขึ้น... มันก็แหงละ เพราะ Bill เป็น CEO ของบริษัทเหมือนกันนี่"

ที่มา: //www.nizkor.org/features/fallacies/circumstantial-ad-hominem.html




 

Create Date : 18 มีนาคม 2549
2 comments
Last Update : 18 มีนาคม 2549 0:34:24 น.
Counter : 5526 Pageviews.

 

อูยยยยไอ้เหลี่ยมใกล้ออกแล้ว อูยยยยยยยยยยยยย

 

โดย: สะใจ IP: 124.120.60.111 26 มีนาคม 2549 21:16:18 น.  

 

เข้ามาแก้ไม่ได้ซะแล้ว
ฝากบ้านใหม่ของชาวขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ดหน่อยก็แล้วกัน
ที่ //www.serithaiwebboard.org นะคับ

 

โดย: ridkun IP: 124.120.2.166 10 เมษายน 2549 6:09:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ridkun
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ridkun's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.