มกราคม 2556

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
กลยุทธสำคัญกว่า ราคา,กำไรขาดทุนใกล้จะวัดผล

ตลาดยังเป็นขาขึ้น (โดยกราฟดัชนี)  และยืนยันด้วยวอลุ่มที่ไม่ตกลดลง    แม้จะมีเครื่องมือ หลายๆ ตัว  แจ้งเตือนว่า ซื้อมากเกินไป ก็ตาม  แต่หากนำไปเทียบกับสมัย 1500 จุด พุ่งสู่ 1700 จุดเมื่อ หลายสิบปีก่อน  ก็พอจะมีคำตอบว่า  รูปแบบและกลยุทธการเข้าการออกของกระแสเงินต่างชาตินั้น  เป็นวิธี ถาถมโดยไม่สนใจเครื่องมือกราฟใด ๆ   หรือ ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานเป็นที่ตั้ง แน่นอน  เป็นการมองเห็นช่องทางได้กำไร  ส่วนเรื่องราคาไม่เกี่ยง พื้นฐานสนใจแต่ลดลงได้ 

 

สภาวะเช่นนี้ จะทำให้ เงินในประเทศ(กองทุน รายย่อย และพรอทโบรกฯ)  อาจกลัว ๆ กล้า ๆ มากขึ้นเพราะความระวังตัว  และมีตัวอย่างในอดีต   แต่เรื่องกลยุทธเป็นเรื่องสำคัญกว่ามาก

 

โดยขอฝากให้พวกเราคิดเป็นโจทย์ แบบ อกเขาอกเรา  ว่า จะเข้าไปเอาเงินจากตลาดที่คนเล่นส่วนใหญ่กลัว ๆ กล้า  ต้องทำอย่างใดจึงชนะเอากำไร กลับบ้านได้   สบาย ๆ  โดยสามารถทำให้ คนในตลาดทุกกลุ่ม  มาแย่งรับหุ้นที่ขายอย่างเต็มอกเต็มใจ

  เมื่อสมัย 1700  จุด  กลยุทธคือ ทำให้ราคาติดเพดาน (ลิ่ง)   แล้วลิ่งต่อ อย่างรวดเร็ว  ทำให้คนที่ขายหมู  ทนไม่ไหว  อยากซื้อราคาที่สูงขึ้นอีก(การปรับตัวจะไม่ลงลึกแล้วก็ดีดกลับรวดเร็วให้คนขายหมู ซื้อคืนไม่ทัน)  เป็นกลยุทธโยนเผือกร้อนแบ่งกันถือ    ด้วยวิธี  quatitative protect risk system   ราคายิ่งสูงขึ้น  ต้นทุนคนทำราคายิ่งถูกลงเรื่อย ๆ    และเมื่อถึงเวลา  และราคาตลาดเทียบต่อราคาต้นทุนต่างกันมากกว่า  30 % ถึง 50%  นั่นคือ เวลาที่ต้องขาย    การขายที่ดี  ไม่ใช่เททุบอย่างเดียว แต่ก็สามารถทำได้  ไม่ให้รู้สึกตัว คือ ขายวันแรกแรง ๆ มากๆ  อีกวันก็ซื้อ คืน (ทำให้ผู้ที่ซื้อในวันขายแรง ยังไม่แย่งขาย เพราะต้นทุนยังสูงอยู่ แต่มองเห็นช่องทางกำไร)  หากเราจะสังเกตว่า กระแสเงินไหลออกจริงหรือ ไม่ ต้องดูที่ค่าเงินบาท  หากบาทนิ่ง  หรือ ค่อย ๆ ลดค่าลง  ก็แสดงความเสี่ยงชัดเจนขึ้น   และเมื่อใดที่จะออกหรือ ขายจนเหลือในมือ น้อยมาก  กระแสเงินจะหยุดซื้อหุ้น ทันที  (สมัย 1700 ราคาหุ้นติดฟลอร์ 3 วัน  ไม่มีแรงซื้อ  คนที่ขายได้ ต้องขายวันที่ 4 คือ ต่ำลงไป – 30% แล้ว  สมัยนั้นเพดาน 10%)      ดังนั้นการเล่นระหว่างวันกลายเป็นความปลอดภัยกว่า การถือข้ามวัน  เพราะไม่มีใครทราบว่า วันรุ่งขึ้นราคาจะลงติดฟอร์ ติดกัน 3 วัน    
กลยุทธที่ดี ควรมีการจัดพรอท ตามกระแสตลาด  หรือ ตามดัชนี  (ใช้ตารางหยินหยาง จัดพรอทได้ดี แต่กว่าจะรู้ต้องรอตลาดปิด )  จึงมีผู้คิดวิธีให้เทียบสัดส่วนตาม ดัชนี  คือ ง่าย ๆ  ตั้ง 1350 จุด เป็นฐาน   1450 จุดเป็น เพดาน  ดังนั้น  ทุก 1 จุดคือ  1 % ของพรอทตัวเราเอง  เช่น  1400 จุด  พรอทต้อง มีหุ้น 50%  เงิอนสด 50%    ดัชนี 1450 ต้องยอมขายให้หมดพรอท  จากนั้นนั่งรอและตรวจสอบวอลุ่มใหม่   หากดันี 1360  พรอทก็เต็ม 90 %  และหาก 1350 จุด  มีหุ้นเต็มพรอท แล้ว  ดัชนียังลงต่อ  ก็ต้องเริ่มคัดออก (กฎธรรมชาติ  เมื่อ ซื้อ ผิดเวลา  ผิดราคา  ต้องยอมรับ ในระบบตลาดเสรีแบบนี้)   และ อย่าลืม ว่า  กำไรตลาดเป็นผู้ให้    ขาดทุนเราทำเอง
อย่ากลัวเกินไป  อย่ากล้าบ้าบิ่น  ต้องระวังตัวเองไว้ 

17 มค 2556  ดัชนีปิด 1420.95   วอลุ่ม  59237  บาท

 




Create Date : 17 มกราคม 2556
Last Update : 17 มกราคม 2556 20:13:21 น.
Counter : 10454 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nowya
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]



ชาวกรุงเทพฯ เล่นหุ้นมาตั้งแต่ตลาดหุ้นอยู่สยามเซ็นเตอร์ ผ่านการกำไรและเจ๊ง ครบทุกรส มองเห็นขบวนการปั่นราคา และมองเห็นรายย่อยที่เล่นเจ๊งกันต่อหน้าต่อตา ยืนอยู่หลัง ผจก ตลาดฯ สมัยมีคนจะฆ่าตัวตายที่อาคารสินธร
เห็นใจรายย่อยที่เข้ามาเล่นแบบไม่รู้อะไร แต่อยากรวยเร็ว ๆ ด้วยทุนน้อยๆ อยากเก็งกำไร แต่ไม่รู้อะไรคือวิถีการเก็งกำไร
จึงอยากมีส่วนในการช่วยชี้แนะบ้างเท่านั้นเอง
New Comments