|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประสบการณ์ซื้อ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องช่วยหายใจ CPAP จาก USA
หลังจากที่ได้ไปผ่าตัด RF ลดการบวมในช่องจมูก ผ่านมา ประมาณ 1 ปีครึ่ง สิ่งที่เปลี่ยนไปเห็นจะมีแค่ การหายใจโล่งคล่องขึ้น แต่อาการกรน ยังมีและดังเหมือนเดิม และช่วงหลังๆจะมีอาการมึนหัวตอนเช้า หรือ บางที่ก็เกิดอาการปวดหัวแต่ตื่นขึ้นมาตอนดึก
อาการปวดหัวหรือมึนหัว ที่เกิดผมสังเกตพบว่าถึงเราจะกินยาลดปวดพวกพาราเซตตามอน ก็ไม่ได้ลดอาการมึนนี้ได้
ช่วงหลังผมมีเรื่องความดันโลหิตที่สูง โดยวัดล่าสุดตอนตรวจร่างกาย ขึ้นไปที่ 124/90 ความตัวล่าง จะสูงกว่าปกติ แต่หมอก็บอกว่าไม่น่าจะใช่สาเหตุของปวดหัว มึนหัว ตอนเช้า หมอบอกว่า สาเหตุน่าจะมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า ตอนไปทำ Sleep test ค่า ความเข้มของ Oxygen ในเลือดลดลงเหลือ 90% และมีการหยุดหายใจระหว่างหลับอยู่ที่ (AHI) 15 ครั้ง/ชั่งโมง
ทำให้ผมเริ่มที่จะคิดว่า เราจะต้องทำอะไรกับชีวิตเราแล้วละ เพราะการหยุดหายใจระหว่างหลับเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรัง หลายๆตัว รวมถึง โรคความดันโลหิตสูงด้วย
วิธีรักษามีสองอย่าง
1.การรักษาโดยการผ่าตัด 2.การรักษาโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP (Centinuous Positive Airway Pressure) ระหว่างนอน
ผมตัดสินใจที่จะใช้วิธีที่สอง เหตุผลที่สำคัญคือ กลัวการผ่าตัด ครับ
เครื่อง CPAP ถ้าซื้อในเมืองไทย ก็มีตัวแทนจำหน่ายหลักๆอยู่ 2-3 ที่ โดยมากจะมีการติดต่อผ่านโรงพยาบาล หลังที่หมอตรวจแล้ว และให้รักษา โดยใช่เครื่อง CPAP ซึ่งแน่นอน ว่าต้องผ่านการทำ Sleep test มาก่อนครับ
แต่ใน case ของผม ไม่ได้กลับไปหาหมออีกครั้ง ผมตัดสินใจเองเลย โดยเริ่มโทรหาตัวแทนจำหน่าย ใน internet เท่าที่หาได้ในเมืองไทย รวมถึงพวก pre-order จากเมืองนอก และพวกขายของมือสองด้วย
ผมเริ่มจากการหาข้อมูล ยี่ห้อก่อนว่า ยี่ห้อไหน น่าใช้และมีปัญหาน้อย คนนิยม บ้าง มี short ไว้ 3-4 ยี่ห้อ คือ
1. Resmed : ราคาแพงที่สุด เครื่องเงียบ คนนิยม 2. Philips Respironics : คนนิยมเหมือนกัน 3. Transcend : เครื่องเล็กเหมาะกับการเดินทาง แต่เสียงดัง ราคากลางๆ-แพง 4. RESmart : เสียงดัง ราคาถูก
ผมเลือก 2 ยี่ห้อ คือ Phillip กับ Resmed แต่สุดท้ายตัดสินใจที่จะเลือก ยี่ห้อ Resmed เหตุผลเพราะ มีตัวแทนในเมืองไทย คือบริษัท Saint medical และเหตุผลอีกอย่างคือ มันมีคนประกาศขายยี่ห้อนี้ใน internet มากกว่ายี่ห้ออื่น และได้ลองโทรไปคุยกับพ่อค้าบางราย ก็แนะนำ ยี่ห้อ Resmed ด้วย
ราคาในเมืองไทย
ผมได้ลองติดต่อสอบถามราคา สั่งซื้อผ่านตัวแทนจำหน่าย Resmed (บริษัท Sait medical ) ณ วันที่ สอบถาม รุ่นล่าสุดจะเป็น Resmed S9 ตัว top สุดจะเป็นรุ่น S9 AutoSet ราคาพร้อมหน้ากาก ประมาณ 70,000 บาท แต่ตัว Top สุดที่ออกมาแล้วในเมืองนอกจะเป็น รุ่น Airsense 10 แต่ยังไม่ได้นำเข้าเมืองไทยเพราะบริษัทยังอยู่ระหว่างการขอ ใบอนุญาต อ.ย กว่าจะนำเข้าได้ก็น่าจะ Q1 ปี 2016
รูป เครื่อง AirSense™ 10 AutoSet™ CPAP with Integrated Humidifier
รูปหน้ากากแบบ Pillow ยี่ห้อ Resmed รุ่น AirFit P10 ( ราคาหน้า Web 99๊ USD แต่ราคา Pre-Order ขายที่ 6000 บาท )
ส่วนราคาที่ได้จากการสั่งซื้อผ่าน พ่อค้า Pre-Order จะอยู่เป็นรุ่นล่าสุดของ Resmed รุ่น Airsense 10 Autoset ราคาเครื่องอยู่ที่ 45,000 บาท และราคาหน้ากาก อยู่ที่ 5500 - 7000 บาท แล้วแต่รุ่น ส่งของ 10 วันหลังจาก order วางเงินมัดจำ 10,000 บาท มีการเซ็นสัญญา ซื้อขายหลังวางมัดจำ
อีกทางนึงที่ ทำได้คือ สั่งซื้อเองจากเมืองนอก ผ่านทาง web site เช่น www.cpap.com และ //www.1800cpap.com ราคา เครื่อง Resmed Airsense 10 ที่ประกาศขายอยู่ที่ 919 USD หรือประมาณ 31,985.71 บาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1USD:34.80 บาท ส่วน spec ที่ได้จะดีกว่า (AirSense™ 10 AutoSet™ CPAP with Integrated Humidifier by ResMed และปรับอณหภูมิอากาศและความชื้น [ClimateLine Air heated CPAP hose ] ) ส่วนที่ซื้อกับพ่อค้า pre-order จะได้สายแบบธรรมดา (standard SlimLine hose) ข้อดีของสาย ClimateLine Air heated CPAP hose คือมันสามารถปรับอุณหภูมิและความชื้นได้ อัตโนมัติ ครับ ทำให้จมูกและปากไม่แห้ง แต่บางคนก็บอกว่า มันไม่จำเป็นสำหรับเมืองไทย เท่าไรเพราะ อากาศร้อนชื้นอยู่แล้ว
ผมเลือกที่ จะเสี่ยงสั่งซื้อเอง ผ่าน web เมืองนอก เพราะคิดว่าได้ราคาที่ถูกกว่า แถม spec ที่ดีกว่าด้วย และเลือกที่จะซื้อผ่าน web www.1800cpap.com เพราะว่าไม่จำเป็นต้องส่งใบสั่งยาของหมอ ให้กับทาง web เพราะยกเว้นให้้ลูกค้าส่งของนอก USA ส่วน แต่ถ้าส่งของใน USA จะต้องส่ง ใบสั่งยา หรือ prescription แนบไปด้วย
ส่งการส่งของ ทาง web มีให้เลือก 2 แบบ คือ USPS (84 USD) กับ Fedex (79๊ USD) ผมเลือก Fedex เพราะราคาถูกกว่าและส่งไวกว่าด้วย (3-5วัน) พร้อมกับมี tracking number ที่สามารถตรวจสอบ สถานะ Online
ในการสั่งซื้อของผม ของที่สั่งมา จะต้องผ่านขั้นตอน ทางศุลกากร หรือ ที่เรียกกันว่า ต้องผ่าน custom clearance เพราะสินค้าจะต้องผ่านการตรวจในคลังสินค้าศุลกากร (สินค้าลงคลัง) ครับ เพราะเป็นอุปกรณ์การแพทย์ หรือ ราคาสูงกว่า 40,000 บาท
ความยุ่งยากจะอยู่ตรงนี้แหละครับ เพราะทาง Fedex จะโทรมาหาเราล่วงหน้า เลยก่อนสินค้าจะเข้าเมืองไทย ในกรณีของผม คือวันที่ 9 ผมโทรไปถาม Fedex เลยว่า ผมต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างในการ clear ของจากคลัง ซึ่งทาง เจ้าหน้า Fedex ก็ให้ข้อมูลว่า ต้องเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้คือ
- ใบรับรองแพทย์ ระบุโรคที่เป็น ต้องระบุชื่อ รุ่น ให้ตรงกับที่นำเข้าและออกโดยโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น - หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์การนำเข้าสินค้า - หนังสือมอบอำนาจ ในการดำเนินการ - สำเนาบัตรประชาชนหรือพลาสปอร์ต
จากเอกสารข้างบน ตัวที่ จะได้มายากคือ ใบรับรองแพทย์ที่ระบุโรคและ ระบุบการใช้อุปกรณ์ในการรักษา โดยโรงพยาบาลของรัฐบาล
ซึ่งเป็นความโชคดีของผม ที่ผมไปตรวจกับ คลีนิคนอกเวลาของโรงพยาบาลจุฬา อยู่แล้ว ซึ่งได้ผ่านการทำ Sleep test เรียบร้อย บ่ายวันนั้น ผมรีบไปหา หมอที่เคยรักษาด้วย เพื่อขอใบรับรองแพทย์ พร้อมกับไปสารภาพผิดว่า ผม order ของเรียบร้อยแล้วมีความจำเป็นต้องได้ใบรับรองแพทย์ โชดดี อีกที่ คุณหมอเห็นใจ เพราะมีผลการตรวจที่ชัดเจน แต่ผมแนะนำว่าควรจะคุยกับคุณหมอเพื่อขอเอกสาร ใบรับรองแพทย์ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะ Order ของครับ
ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนการ clear ของจากศุลกากร ซึ่งถ้า ให้ clear โดย Fedex ก็สามารถทำได้โดยมีค่าดำเนินการที่สามารถสอบถามได้จาก Fedex เลย
แต่ผมเลือกที่จะใช้ บริษัทตัวแทน shipping ไป clear ของเอง เพราะต้องการความรวดเร็วและความชัวร์ เพราะเคยใช้บริการมาก่อนแต่ต้องจ่ายแพงกว่า (ผมคิดเองนะเพราะไม่แน่ใจว่า Fedex จะ charge เพิ่มเท่าไร)
ส่งเอกสารที่ Fedex มากรณีจะ clear เองมีดังนี้
ค่าบริการในการเคลียร์สินค้า และภาษีอากรของสินค้ารับผิดชอบโดยผู้รับ ค่าใช้จ่ายโดยประมาณในกรณีที่ลูกค้ามีตัวแทนเดินพิธีการของท่านเอง: - ค่ารับ D/O 321 บาท - ค่าเช่าคลังแรกเข้า 850.65 บาท - ค่าเช่าคลังรายวัน 321 บาท (หรือขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและน้ำหนัก) กรุณาติดต่อตัวแทนของท่านเพื่อมารับ D/O ที่ห้องD/O ของ FedEx โดยเตรียมเอกสารดังนี้: - หนังสือมอบอำนาจกระดาษหัวจดหมายบริษัท ระบุรายละเอียดชื่อผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ พร้อมทั้งรายละเอียดAWB - ติดอากรสแตมป์ 10 บาท - สำเนาบัตรประชาชนผู้มารับD/O เอกสารทุกฉบับข้างต้น ต้องประทับตราและลงชื่อโดยกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัท
อีกอย่างครับ ทาง Fedex จะส่ง ข้อมูล Shipment invoice มาให้เรา ถ้าจะ clear ของเองเราก็ส่งเอกสาร invoice ให้ทางตัวแทนของเราเลย
ข้อเสีย ของการใช้ ตัวแทนข้างนอกก็จะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อแลกกับเวลาที่เร็วขึ้นและต้องไปรับของเองที่ สนามบินสุวรรณภูมิ ที่เขตปลอดอากร (Free Zone) ( ถ้าจะให้ไปส่งของที่บ้าน บริษัท Shipping จะเก็บเงินเพิ่มอีก 1 พันบาท ผมเลยยอมเสียเวลา)
สรุปค่าใช้จ่าย ที่ต้องเสียให้กับทาง Shipping ตอนทำ Custom clearance มีดังนี้ครับ
ค่าภาษีศุลกากร 2,657 บาท ค่าธรมเนียมศุลกากร 200 บาท ค่า เอา D/O จาก Fedex 321 บาท ค่าเช่า cargo 850.65 บาท ค่าใบอนุญาต อ.ย 300 บาท ค่าทำใบอนุญาต แนบ10 500 บาท (ไม่มีใบเสร็จ) ค่าบริการ Shipping 1,284 บาท ค่านายตรวจ 100 บาท
รวมทั้งหมด 6,213 บาท
อาจจะแพงกว่า หรือถูกกว่า ให้ Fedex ดำเนินการเองแต่ ที่แน่ๆได้ของ เร็วมาก คือ เครื่องบิน เข้า ประมาณ ตี 5 ได้ของ ประมาณ บ่าย 2 ของวันนั้นเลย
เบ็ดเสร็จค่าใช้จ่าย ทั้งหมด สรุปได้ดังนี้ครับ
1. ค่าเครื่อง+หน้ากาก พร้อมค่าขนส่ง 1,100.97 USD หรือ 38,319.16 บาท 2. ค่า custom clearance 6,212 บาท 3. ค่าใบรับรองแพทย์ 500 บาท 4. ค่า BTS+ Airport rail link 160 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 45,191.16 บาท
สรุป
ราคาสั่งเองจากเมืองนอกถูกกว่า ซื้อจากตัวแทนเมืองไทยประมาณ ครึ่งหนึ่ง และถูกกว่าสั่งผ่านพ่อค้า Pre-Order ประมาณ 10,000 บาท และได้ของไวกว่าแบบ Pre-Oder ที่ใช้เวลา 10 วัน
ส่วนเอกสารที่ สำคัญที่ต้องมี ก่อนสั่งซื้อเอง คือใบรับรองแพทย์ จากโรงพยาบาลรัฐบาล
รวม Like ที่มีประโยชน์
การคำนวณภาษี : การคำนวณภาษีนำเข้า แหล่งข้อมูลการใช้งาน CPAP : Apnea Board บทความหมอชาวบ้าน : นอนกรนรักษาได้
Create Date : 15 กรกฎาคม 2558 |
| |
|
Last Update : 17 กรกฎาคม 2558 11:57:49 น. |
| |
Counter : 48864 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปิ่นโต2554 |
|
|
|
|
|