All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
กันยายน 2567
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 กันยายน 2567
 
All Blogs
 

*** Cure *** การเยียวยาจิตใจ คือการละทิ้งตัวตนเพื่อกลายเป็นคนวิปริต

*** Cure ***






Cure ของ ผู้กำกับ/เขียนบท Kiyoshi Kurosawa ว่าด้วยคดีฆาตกรรมที่ไม่เกี่ยวเนื่องกัน แต่ทุกคดีกลับมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ทุกศพจะมีรอยกรีดเป็นรูปกากบาท (X) อยู่บนตัวเสมอ และเมื่อตัวเอกผู้เป็นนักสืบของเราสืบลึกลงไป เรื่องราวอันน่าประหลาดก็เปิดเผยออกมา

นอกจากความบันเทิงอันเกิดจาก ความน่าติดตามของปริศนาในเรื่อง ความน่าอึดอัดของบรรยากาศ และ การเอาใจช่วยตัวละคร สิ่งที่สำคัญและน่าสนใจไม่แพ้กัน คือประเด็นที่มันต้องการนำเสนอและบอกเล่า
เรามาสนุกกับประเด็นนี้กัน





<<<จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ และจะไม่มีการเกริ่นนำเนื้อหา จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ดู>>>





สิ่งที่ 'คนร้าย' ทำ ไม่ใช่แค่การสะกดจิตให้ผู้อื่นออกไปฆ่าคน (เราไม่สามารถเรียกเขาว่า 'ฆาตกร' ได้ เพราะเขาไม่เคยลงมือฆ่าใคร นอกจากใช้เปลวไฟหรือหยดน้ำโน้มนำจิตใจผู้คน)

อย่างที่นักจิตวิทยาประจำกรมตำรวจบอกไว้ว่า 'การสะกดจิต ไม่สามารถทำให้ผู้ถูกสะกดจิตก้าวข้ามศีลธรรม/จริยธรรมที่ผู้ถูกสะกดจิตมีอยู่ได้' พูดง่าย ๆ ก็คือ 'ไม่สามารถสะกดจิตให้ไปฆ่าคนได้ ถ้าผู้ถูกสะกดจิตไม่ได้มีความอยากฆ่าอยู่แล้ว'



ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่คนร้ายทำคืออะไร ?

แน่นอนว่ามันไม่ใช่แค่การสะกดจิต หากแต่เป็นการปลดล็อคบุคคลเหล่านั้นออกจากศีลธรรมดีงามต่างหาก



หากจะใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ มาอธิบายก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นไปอีก


Id คือ สัญชาติญาณดิบอันเป็นพื้นฐาน

Super-Ego คือศีลธรรมที่คอยควบคุมให้ประพฤติตามกฏเกณฑ์สังคม

Ego คือการแสดงออกของตัวตนหลังจากการสร้างสมดุลระหว่าง Id และ Super-Ego


ดังนั้นการกระทำของคนร้ายคือ คือการทำลาย Super-Ego แล้วปล่อยให Id ได้โลดแล่น



ฉากที่อธิบายประเด็นนี้ได้ชัดเจนคือฉากที่เกิดขึ้นที่ร้านซักรีด

ขณะที่ตัวเอกนักสืบของเราไปรับเสื้อผ้าที่ร้านซักรีด เราจะพบตัวละครชายตัวหนึ่งที่มารับเสื้อผ้าเช่นเดียวกัน โดยปกติเมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่น พฤติกรรม ของเขาก็เป็นปกติแบบคนทั่วไปในสังคม (Super-Ego ยังคงทำงาน) แต่เมื่อลับตาคน (เมื่อพนักงานร้านเดินไปหลังร้าน และเขาไม่ทันสังเกตว่าตัวเอกนักสืบของเราอยู่ด้านหลัง) เขาก็พ่นคำด่าหยาบคาย รวมถึงความอาฆาตและความปราถนาที่จะทำร้ายผู้อื่น (Id ถูกปลดปล่อย) กระทั่งพนักงานเดินกลับมาเพื่อส่งเสื้อผ้าให้เขา เขาจึงกลับมาประพฤติตัวตามปกติของสังคม (Super-Ego กลัมาทำงานอีกครั้ง)



หากมองในมุมกลับ มนุษย์ต่างหากที่ถูกสะกดจิตให้มีพฤติกรรมดีงามตามค่านิยม/ศีลธรรม บางทีสิ่งที่คนร้ายทำคือการปลดปล่อยสัญชาติญานดิบของมนุษย์ที่โดนสะกดเอาไว้ออกมาก็แค่นั้น





เมื่อพิจารณาฆาตกรที่ก่อคดีในหนังเราจะพบว่าหนังเลือกใช้อาชีพที่สังคมมองว่าเป็นอาชีพที่ต้องมีคุณธรรมและศีลธรรมสูงส่ง ไม่ว่าจะเป็น ครู, ตำรวจ, หมอ รวมถึงเพื่อนตัวเอกที่เป็น นักจิตวิทยาของกรมตำรวจด้วย (แม้ว่าคนที่เขาอยากฆ่าที่สุดและทำสำเร็จจะเป็นตัวเองก็ตาม)

การเลือกอาชีพของตัวละครฆาตกร ทำให้ประเด็นที่ว่านี้ชัดเจนขึ้น

เมื่อขาดศีลธรรมที่เป็นกฏเกณฑ์ทางสังคม มนุษย์ก็ไม่ต่างกัน





น่าสนใจที่หนังวางตัวละคร 'คนร้าย' กับ 'ภรรยาของตัวเอกนักสืบ' ให้คล้ายกัน
ทั้งสองมีปัญหาเรื่องความทรงจำเหมือนกัน, มีความเกี่ยวข้องกับการสั่นไหวเหมือนกัน, เป็นคนที่ตัวเอกนักสืบคิดว่าเป็น 'ภาระ' ที่เขาอยากกำจัดทิ้งเหมือนกัน

ดังนั้นในตอนสุดท้ายที่ตัวเอกนักสืบหลุดกรอบศีลธรรม (โดยไม่จำเป็นต้องถูกสะกดจิตโดยคนร้ายแต่อย่างใด) ตัวเอกปล่อยคนร้ายหนีเพื่อที่จะได้ตามฆ่าคนร้ายโดยไม่สนกฏเกณฑ์ใด ๆ จากนั้นตัวเอกก็พร้อมจัดการภรรยาของเขาเป็นรายถัดไป

ใช่แล้ว

ตัวเอกนักสืบของเราที่เริ่มศึกษาศาสตร์การสะกดจิต และทำแบบเดียวกับคนร้ายได้ เขาใช้ความรู้นี้โน้มน้าวให้ใครสักคนฆ่าภรรยาเขา

ในฉากสนทนาระหว่างตัวเอกนักสืบและคนร้าย
คนร้ายถามว่า ตัวตนที่แท้จริงของคุณคือใคร นักสืบหรือสามี ?

แต่แล้วคนร้ายก็เข้าใจว่า ที่จริงแล้วตัวเอกนักสืบไม่มีตัวตนที่แท้จริง นี่อาจเป็นสาเหตุที่ตัวเอกนักสืบไม่ถูกคนร้ายสะกดจิต

การเป็นคนไม่มีตัวตน (ไม่มี Ego) ยังเป็น จุดเด่นสำคัญของคนร้าย เพราะการที่คนร้ายจำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร ก็คือการลืมตัวตนของตัวเอง (อาจจะลืมจริง, หรือแสร้งลืมเพื่อให้ตัวเองอยู่ในสภาวะไร้ตัวตน)
ดังนั้นการที่แท้จริงแล้วตัวเอกนักสืบของเราก็ไร้ตัวตนที่แท้จริง (เขามีแต่ตัวตนในฐานะสิ่งสมมติที่สังคมสร้างให้, ในฐานนะนักสืบ และในฐานะสามี)
นั่นทำให้ตัวเอกนักสืบของเราสามารถเป็นแบบที่คนร้ายเป็นได้

ฉากสุดท้ายเป็นการยืนยันได้อย่างดี ว่าท้ายที่สุดตัวละครเอกของเราก็กลายเป็นสิ่งที่คนร้ายเคยเป็น
เราจะเห็นเขานั่งกินอาหารจนหมดจานทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยกินหมด เขาจุดไฟเพื่อสูบบุหรี่ (แต่แท้จริงแล้วเขาอาจใช้เปลวไฟในการสะกดจิตพนักงานเสิร์ฟหญิงไปแล้ว) จากนั้นกล้องก็จะถ่ายให้เห็นว่าพนักงานหญิงคนดังกล่าวกำลังจะถือมีดไปทำร้ายใครสักคน





สิ่งที่ Cure ต้องการจะบอกกับผู้ชม อยู่ในฉากที่ตัวละครเอกนักสืบระเบิดอารมณ์ใส่คนร้าย ซึ่งเรียบเรียงใหม่ได้ว่า
'คนวิปริตอยู่สบาย เพราะไม่ถูกกฏเกณฑ์สังคมบีบบังคับ แต่คนธรรมดาที่ยังต้องใส่ใจกฏระเบียบสังคมกลับถูกบีบบังคับจนแทบจะเป็นบ้า'

เมื่อเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในหนัง กับสภาพสังคมมนุษย์ (โดยเฉพาะญี่ปุ่นยุค 90s ในช่วงปีที่หนังฉาย)
ตัวละคร 'คนร้าย' ในหนังที่คอยปลดล็อคศีลธรรมออกจากจิตใจจนทำให้ผู้คนก่อเหตุฆาตกรรม
ก็คือ 'กฏระเบียบ' ที่บีบรัดและกดดันให้คนละทิ้งซึ่งศีลธรรมแล้วก่อเหตุฆาตกรรมในชีวิตจริง

Cure ที่เป็นชื่อหนังแปลว่า การเยียวยา, การรักษา
และสิ่งที่หนังบอกกับเราก็คือ



ในสภาวะที่กฏเกณฑ์สังคม, ค่านิยม และศีลธรรม บีบคั้นจนแทบทนไม่ไหว

การเยียวยาจิตใจที่ดีที่สุด คือการละทิ้งตัวตนเพื่อกลายเป็นคนวิปริต







10 / 10





 

Create Date : 25 กันยายน 2567
0 comments
Last Update : 25 กันยายน 2567 21:55:52 น.
Counter : 538 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


BlogGang Popular Award#20


 
navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.