ต่อเติมอย่างไรให้ถูกต้อง
การต่อเติมที่กฎหมายกำหนดให้ต้องขออนุญาต มีดังนี้ จาก //www.nmt.or.th/pathum/thanyaburi/Lists/List56/AllItems.aspx ....................... 7. บทกำหนดโทษ 7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล หรือผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน ใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน 7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ 7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้ - ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร - เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม - เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง ปัญหาส่วนมากคือ บ้านที่โครงการทำออกมาขาย ได้แบบอนุญาตปลูกสร้างอาคารเต็มพื้นที่แล้ว คือบ้านพักอาศัย ต้องเหลือที่ว่างไม่มีหลังคาไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบ ไม่งั้นขออนุญาตไม่ได้ ผนังบ้าน ก็ต้องเว้นระยะห่างจากรั้ว โดยผนังที่มีช่องเปิด ช่องแสง หน้าต่างประตู ของบ้านสองชั้นปกติ ต้องเว้นห่างแนวเขตที่ดินอย่างน้อยสองเมตร ถ้าผนังทึบและข้างบ้านไม่ยินยอม ต้องเว้นห่างอย่างน้อย 0.50 ม. สาเหตุเหล่านี้ ทำให้บ้านที่ซื้อมา ไม่สามารถต่อเติมได้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากจะซื้อที่ดินเพิ่ม เรามักอ้างว่า คนอื่นทำได้ บ้านฉัน ฉันก็ทำได้ แต่ถ้าวันใหนเกิดซวยขึ้นมา โดนดำเนินคดีตามข้อ 7.1 7.2 หรือเข้าข่ายข้อ 7.3 ชีวิตจะวุ่นวายขนาดใหน จึงต้องชั่งใจก่อน แต่ถ้ามีความจำเป็นในชีวิตจะต้องทำครัวนอกบ้าน ทำหลังคาที่จอดรถ จะทำอย่างไร
แนะนำให้ทำแบบที่ไม่มีลักษณะต่อเติมอาคาร โดยเลี่ยงไปใช้ผ้าใบ ทำหลังคาครัว ทำหลังคากันแดดที่จอดรถ จะได้ไหม หรือทำโรงรถแบบเข็นเลื่อนไปมา ซึ่งไม่นับเป็นอาคาร วัสดุที่ว่า ต้องรอเพื่อนสถาปนิกมาแนะนำว่าควรใช้อะไรดี
เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิกสงสัยว่าบ้านไม่ได้อยู่ในเขตเทศบาลธัญบุรี จะเข้าข่ายหรือไม่
ขอเรียนว่า เทศบาลธัญบุรี ได้สรุปไว้สั้นๆ ชัดเจน จึงนำมาอ้างเป็นเครดิตไว้ บทสรุปของกฎหมายควบคุมอาคาร ดูได้จาก
//www.dpt.go.th/dpt2550/law/0706-191-070250-building.pdf
บทลงโทษสรุปในหน้า 113 - 115
********************************* อายุความ
คุณ อนวัช E-mail :: anawat_b@dpt.go.th ตอบคำถามเมื่อวันที่ 13/10/2548 10:39:45 ว่า
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 21 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มี โทษตามมาตรา 65 ฯ การดำเนินการของท้องถิ่นแยกเป็น 2 กรณีครับ ได้แก่
( 1 ) การดำเนินคดีอาญา เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งมีโทษดังกล่าวข้างต้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องแจ้งความดำเนินคดีอาญากับผู้ฝ่าฝืน ซึ่งทั่วไปจะถูกเปรียบเทียบปรับ เมื่อถูกปรับคดีอาญาก็จบ แต่อย่างไรก็ตามคดีอาญามีอายุความต้องแจ้งความดำเนินคดีภายในอายุ ความ กรณีนี้เกิน 5 ปีแล้วอายุความก็น่าจะหมดไปแล้วครับ
( 2 ) การออกคำสั่งทางปกครองกับผู้ฝ่าฝืนให้แก้ไข หรือรื้อถอนอาคาร กรณีนี้ไม่มีอายุความตราบใดที่อาคารยังมีส่วนฝ่าฝืนกฎหมายเทศบาลก็สามารถออกคำสั่งได้ครับ
......................................... คุณ : TruLy เขียนเมื่อ : 26 ส.ค. 52 19:20:02 มีรูปที่เขตไปตรวจสอบบ้านที่ต่อเติมไม่ถูกต้อง ใช้เวลาตรวจสอบราว 3 สัปดาห์ แล้วเขตติดป้ายศักดิ์สิทธิ์ตามรูป
Create Date : 08 พฤษภาคม 2551 |
|
13 comments |
Last Update : 26 สิงหาคม 2552 19:49:17 น. |
Counter : 24702 Pageviews. |
|
|
|