การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน
สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาวบล็อกแก๊ง เห็นใคร ๆเค้าก็ปลูกผักทานกันเอง แล้วอารมณ์อยากปลูกเองบ้าง ปลูกมาก็เยอะแยะได้กินบ้างไม่ได้กินบ้างแต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้กินกะเค้าซ่ะที +555 งั้นลองกันใหม่ล่ะกัน มาเริ่มจากรู้ถึงคุณประโยชน์กันก่อนของต้นทานตะวันอ่อนก็คือต้นอ่อนของดอกทานตะวันที่มีอายุเพียง7 11 วัน ซึ่งว่ากันว่าในต้นอ่อนทานตะวันนี้เต็มไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพเช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และโพแทสเซียมหรือแม้แต่ไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายด้วย ต้นอ่อนทานตะวัน ถือว่าเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์มากในปริมาณ ¼ ถ้วย ต้นอ่อนทานตะวันมีปริมาณไขมันสูงถึง 16 กรัม ไขมันอิ่นตัว 2 กรัมไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 8 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6กรัม ไฟเบอร์ 2 กรัม และโปรตีน 6 กรัมซึ่งไขมันที่อยู่ในต้นอ่อนทานตะวันนี้ล้วนแต่เป็นไขมันชนิดที่ดีและมีประโยชนต่อร่างกาย ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล์ในเลือดได้อีกด้วย วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน 1.เมล็ดพันธุ์ทานตะวัน 2.ถาด กระบะ หรือตะกร้าที่มีตาถี่สำหรับปลูก 3.ดินที่สมบูรณ์ มีสารอาหารสำหรับพืชผัก 4.ขวดสเปรย์ฉีดน้ำ หรือบัวรดน้ำ เพื่อความสะดวกในการรดน้ำ ขั้นตอนในการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน
1.นำเมล็ดทานตะวันแช่น้ำ 12 ชม. แล้วล้างน้ำให้สะอาดนำมาใส่ผ้าห่อไว้อีก 12 ชม
2.นำดินใส่ถาด หรือกระบะสำหรับปลูก หรือตะกร้าที่มีตาถี่ๆหากไม่มีก็สามารถใช้ภาชนะปลูกอะไรก็ได้ แต่ขอให้มีรูระบายน้ำโดยแนะนำให้ใส่ดินเพาะประมาณ 2 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
3.โรยเมล็ดทานตะวัน แล้วเกลี่ยให้ทั่วแล้วโรยดินที่เหลือกลบด้านหน้าเล็กน้อยรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง 4.นำไปวางไว้ที่ร่ม 1- 2 วันแรก (ปิดฝาสัก 2 วันหรือจนกว่าจะตัด) รดน้ำ เช้า เย็น ช่วงวันที่ 3 - 6 วัน รดแค่ช่วงเช้าก็พอค่ะ และอดใจรอประมาณ 5 6 วันก็สามารถตัดมากินได้ แต่เมล็ดทานตะวันจะงอกได้เพียงครั้งเดียวดังนั้นถ้าติดใจก็ต้องเตรียม เพาะกันใหม่อีกรอบ
ผ่านไปเพียง 1 คืน ก็เริ่มเห็นต้นอ่อนๆ แล้วหล่ะค่ะ
วันที่ 3 ได้ขนาดนี้แล้วนะ อดใจอีกนิดนึงก็จะได้ทานแล้วหล่ะ
วันที่ 4 ต้นเริ่มยาวมาอีกนิดนึง ใกล้วันที่จะเก็บเกี๋ยว
วันที่ 6 เป็นที่เรียบร้อย แต่ดูเหมือนจะแก่ไปหน่อยค่ะ เพราะใบที่ 3 และ 4 แยงใบออกมาด้วยค่ะ ถ้าจะให้ดีต้องสักประมาณ 5 วัน กำลังดีมี 2 ใบยอดอ่อนๆ กำลังอร่อยเลย
แต่ถ้าเจอใบเหลืองแบบนี้ไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ เพราะต้นอ่อนทานตะวันไม่ได้โดนแดดเลยค่ะ เพียงแค่เอาออกมาโดนแดดสักหน่อยต้นอ่อนก็จะค่อยๆ เขียวทีล่ะนิด ทีล่ะนิดเอง
การนำมาประกอบอาหาร ต้นอ่อนทานตะวันสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่างซึ่งในปัจจุบันก็มีสูตรต่าง ๆ มากมายที่นำต้นอ่อนทานตะวันมาปรุงเป็นอาหาร เช่นต้นอ่อนทานตะวันผัดไฟแดง ผัดกับกุ้งสด ต้มจืด ใส่ในไข่เจียว ลวกจิ้มน้ำพริกใส่ก่วยเตี๋ยว หรือจะทานเป็นผักใส่ลงในสลัด เป็นต้นและเหมาะสำหรับคนที่ทานอาหารคลีน หรืออยากทำเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพเป็นผักทางเลือกมากประโยชน์จริง ๆ คะ
ขอบขอบคุณวิทยากร
นางสาวลดาวัลย์ เพียรงาม จากสำนักงานเขตลาดกระบัง
#โครงการอบรมวิชาชีพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
Create Date : 04 มีนาคม 2560 |
|
1 comments |
Last Update : 4 มีนาคม 2560 1:35:53 น. |
Counter : 4735 Pageviews. |
|
|
|
รอทานยอดอ่อนของต้นทานตะวันคะ..อิอิ