Group Blog
ดาราศาสตร์
ภาษาต่างชาติ
All Blogs
ความสอดคล้องโดยบังเอิญของดนตรีและดาราศาสตร์ในบทเพลง "เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ"
ความสอดคล้องโดยบังเอิญของดนตรีและดาราศาสตร์ในบทเพลง "เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ"
เมื่อวันก่อนผมได้มีโอกาสได้ฟังเพลง เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ ของวง
เฉลียง
ที่นำมาร้องใหม่โดย วง
Scrubb
ฟังครั้งแรกแบบผ่านๆไม่ได้คิดอะไร แต่เมื่อได้ฟังรอบที่สองเริ่มสะดุด ให้ฉุกคิดในเนื้อเพลงท่อนที่ว่า
"(เกิดอาการ) เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ
แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง
เธอดึงดูดฉัน ฉันดึงดูดเธอ
และสองดาวยังเปล่งแสงอันงดงามให้แก่กัน (ไปทั่วฟ้า)"
เอะเอ ดาวกฤษ์สองดวงที่หมุนรอบตัวเองและยังหมุนรอบ(โคจรรอบ)กันและกัน มันมีอยู่จิงนี่นา
จัดไปเลย! ! ! ฟังซะเกือบ 20 รวบ ยิ่งฟังยิ่งไพเพราะ ยิ่งฟังยิ่งเห็นภาพ จึงอยากจะแบ่งบันภาพนั้นให้เพื่อนๆได้เห็นด้วยครับ
เพลง
เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ
โดย
เฉลียง
ดาวนับล้านที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
จะมีไหมหนาที่ลอยอยู่เองเฉยๆ
ไม่ยอมโคจรหมุนไปไหนเลย
ไม่เคย ไม่เห็นเลยสักดวง
ดาวของฉันเธอว่าห่างไกลลิบๆ
แต่ดาวไหนๆมันก็อยู่ไกลกันทั้งนั้น
ดาวของเธอฉันว่าก็เหมือนกัน
กี่ปีแสงนั้นอย่านับเลย
เมื่อดาวโคจรมาเจอะกัน
ฤดูก็เปลี่ยนผัน การหมุนก็ผันแปร
เมื่อเธอกับฉันมาเจอะกันชีวิตก็เปลี่ยนผัน
เปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนจังหวะหมุนของหัวใจ(ให้ใกล้กัน)
(เกิดอาการ)เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ
แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง
เธอดึงดูดฉัน ฉันดึงดูดเธอ
และสองดาวยังเปล่งแสงอันงดงามให้แก่กัน
ดาวนับแสนที่มีวงแหวนนับร้อย
ทั้งดาวเคราะห์น้อย ดาวฤกษ์ลอยคว้างๆ
ดาวทุกดวงนั้นย่อมจะแตกต่าง
มีเส้นทางหมุนของตัวเอง
เมื่อดาวโคจรมาเจอะกัน
ฤดูก็เปลี่ยนผัน การหมุนก็ผันแปร
เมื่อเธอกับฉันมาเจอะกันชีวิตก็เปลี่ยนผัน
เปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนจังหวะหมุนของหัวใจ
เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ
แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง
เธอดึงดูดฉัน ฉันดึงดูดเธอ
และสองดาวยังเปล่งแสงอันงดงามให้แก่กัน(ไปทั่วฟ้า)
-------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ 1
ดาวนับล้านที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
จะมีไหมหนาที่ลอยอยู่เองเฉยๆ
ไม่ยอมโคจรหมุนไปไหนเลย
ไม่เคย ไม่เห็นเลยสักดวง
ดาวของฉันเธอว่าห่างไกลลิบๆ
แต่ดาวไหนๆมันก็อยู่ไกลกันทั้งนั้น
ดาวของเธอฉันว่าก็เหมือนกัน
กี่ปีแสงนั้นอย่านับเลย
....
แค่วรรคแรกของเพลง ก็โดนใจเห็นภาพแล้วครับ ชัดเจนมากครับ เนื้อหาในตอนแรกนั้น
ถูกต้องตรงกับความจริงในธรรมชาติที่ดวงดาว(กฤษ์) ในจักรวาลนั้นไม่ได้อยู่นิ่งๆ และมีการเคลื่อนไหว(โคจร) อยู่ตลอดเวลา
แต่เนื่องด้วยระยะที่ไกลมาก( โครตไกล ) ทำให้ชั่วชีวิตเราไม่สามารถจะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวนั้นได้ชัดเจน หรืออาจจะไม่เห็นเลยซะด้วยซ้ำ
ลักษณะคล้ายๆกับเวลาที่เรามองเครื่องบิน บินอยู่บนท้องฟ้าจากระยะทางไกลๆ เราจะรู้สึกวเหมือนกับมันค่อยๆขยับไปที่ละนิด
แต่ความจริงจริงนั้นเครื่องบินกำลังทยานไปด้วยความเร็วสูงมาก
[1]ภาพกลุ่มดาว Cassiopeia หรือ กลุ่มดาวค้างคาวที่เรารู้จักกันดี แสดงให้เห็นถึงรูปร่างของกลุ่มดาวที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาที่ต่างกัน
ตอนที่ 2
เมื่อดาวโคจรมาเจอะกัน
ฤดูก็เปลี่ยนผัน การหมุนก็ผันแปร
เมื่อเธอกับฉันมาเจอะกันชีวิตก็เปลี่ยนผัน
เปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนจังหวะหมุนของหัวใจ(ให้ใกล้กัน)
....
ท่อนนี้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณ ที่บ่งบอกถึงการใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์
ในการสังเกตดวงดาวหรือกลุ่มดาวให้เป็นปฏิทินทางดาราศาสตร์
โดยสังเกตจากการเปลี่ยนของกลุ่มดาวในแต่ละค่ำคืน ซึ่งสามารถจะบ่งบอกถึงฤดูกาลในช่วงเวลานั้นๆ
อีกทั้งเป็นนาฬิกาที่บ่งบอกถึงสิ่งที่ควรเตรียมพร้อมและวางแผน สำหรับ การเพาะปลูก การอพยบ วันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ ที่กำลังเข้ามาถึงได้อีกด้วย
อีกทั้งชื่อเดือนในภาษาไทยเองก็มีความสอดคล้องกับชื่อของจักรราศีอีกด้วย ซึ่งเป็นหลักฐานที่หลงเหลือด้านวัฒนธรรมที่บ่งบอกว่า
ดวงดาวมีอิทธิพลกับมนุษย์ ในฐานะของ นาฬิกาหรือปฏิทิน นั่นเอง
[2] จากภาพเราสังเกตว่า ณ จุดเดือน มิถุนายน หากเรามองจากโลกไปยังดวงอาทิตย์จะเห็นว่าดวงอาทิตย์จะบดบังกลุ่มดาวคนคู่ซึ่งตรงกับราศีเมถุน (ราศีเมถุน เป็นที่มาของการตั้งชื่อเดือนว่า มิถุนา ) ในช่วงเวลาดังยามค่ำคืนเราจะไม่สามารถเห็นกลุ่มดาวคนคู่ได้เลยเพราะว่า กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นมาและตกไปพร้อมกับดวงอาทิตย์ ทำให้เราไม่สามารถจะเห็นกลุ่มดาวคนคู่เป็นเวลาหนึ่งเดือนโดยประมาณ ทำให้คนที่เกิดช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์บดบังกลุ่มดาวคนคู่นั้น จะมีราศีเมถุนเป็นราศีเกิดนั่นเอง
ตอนที่ 4
ดาวนับแสนที่มีวงแหวนนับร้อย
ทั้งดาวเคราะห์น้อย ดาวฤกษ์ลอยคว้างๆ
ดาวทุกดวงนั้นย่อมจะแตกต่าง
มีเส้นทางหมุนของตัวเอง
....
ขออนุญาตนำตอนนี้ขึ้นมาก่อนครับ เพราะว่าท่อนที่โดยใจนั้น มีเรื่องต้องสาทยายกันยาว
เป็นที่ทราบกันดีว่าในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะจักรวาลของเรานั้น
ดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนคือดาวเสาร์ เพียงดวงเดียว แต่ความจริงนั้น มีมากกว่านั้นครับ
ดาวเคราะห์ที่เป็นก๊าซที่มีวงแหวน นั้นนอกเหนือจากดาวเสาร์ แล้วยังมีดาวพฤหัสบดี (ชื่อดาวพฤหัสบดี ไม่ใช่ดาวพฤหัส)
และดาวเนปจูน (หรือดาวเกตุ) ซึ่งไม่สามารถสังเกตการณ์ได้จากบนพื้นโลกผ่านกล้องโทรทรรศน์
ต้องให้เทคนิคในการถ่ายภาพหลบแสงจากดวงเคราะห์ หรือ บางภาพได้มาจากการถ่ายติดโดยบังเอิญของยานสำรวจ
[3]ภาพวงแหวนของดาวพฤหัสบดี ถ่านในย่าน Infrared โดยยาน กาลิเอโอ
[4]ภาพวงแหวนดาวเนปจูน ถ่ายโดยเทคนิคบังแสงจากดาวเนปจูน เพื่อลดแสงสว่างจ้า ทำให้มองเห็นวงแหวนชัดเจน
ตอนที่ 3
(เกิดอาการ)เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ
แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง
เธอดึงดูดฉัน ฉันดึงดูดเธอ
และสองดาวยังเปล่งแสงอันงดงามให้แก่กัน
....
มาถึงท่อนโดนใจ Climate เอ๊ย Climax ของเรา //haha
เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง
ฟังแล้วนึกภาพตามครับ เหมือนคน 2 คนเต้นรำ จับมือกันหมุนติ้วๆ
พลางนึกในใจเอ..................
มันมีดาวกฤษ์สองดวงที่หมุนรอบกันและด้วยหรอ????????
คำตอบคือ มีนั่นเอง ! ! ! !
เราเรียกดวงกฤษ์(ดวงอาทิตย์) ที่หมุนหรือโคจรรอบกันและกันว่า "ระบบดาวคู่" (Binary star system)
และสำหรับระบบดาวที่มีมากกว่าสองดวงโคจรรอบกันว่า "ระบบดาวหลายดวง" (Multiples star system) บางครั้งก็เรียกว่าระบบดาวพหุ
จากการสำรวจของนักดาราศาสตร์พบว่า ดาวกฤษ์ บนท้องฟ้าหรือที่ลอยเคว้งอยู่ในอวกาศที่ว่างๆนั้น มากกว่า 50-75%
เป็นระบบดาวคู่หรือระบบดาวหลายดวง ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานการเกิดของระบบดาวคู่หลักๆ
ไว้ด้วยกัน 2 สมมติฐานครับ
- ระบบดาวคู่เกิดจากกลุ่มก๊าซเดียวกัน
- ระบบดาวคู่เกิดจากการจับกันภายใต้สนามโน้มถ่วง
ระบบดาวคู่เกิดจากกลุ่มก๊าซเดียวกัน
ทฤษฎีการเกิดระบบดาวคู่นี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ดาวคู่ถือกำเนิดจากกลุ่มก๊าซ(เนบิวลา)เกิด "การยุบตัวลงภายใต้สนามโน้มถ่วง (Gravitational Collapse)"
มีการหมุนรอบตัวเองด้วยโมเมนตัมเชิงมุม ผลของการหมุนรอบตัวเองนี้ทำให้กลุ่มก๊าซมีรูปร่างบิดเบี้ยวไปและยุบตัวแยก กันเป็นกลุ่มก๊าซย่อย 2 บริเวณ
โดยมวลของก๊าซทั้ง 2 บริเวณต้องมากพอที่จะทำให้เกิดการยุบตัวเองจนพัฒนาเป็นดาวฤกษ์ 2 ดวง และโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลของเนบิวลานั้น
คุณสมบัติที่พบในระบบดาวคู่นี้คือดาวฤกษ์ทั้ง 2 ดวงมีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกันและมีอายุเท่ากัน
ถ้า หากในระหว่างการยุบตัวกลุ่มก๊าซแยกกลุ่มมากกว่า 2 บริเวณจะพัฒนา "ระบบดาวหลายดวง ( multiples star system)" ซึ่งขึ้นกับสภาพแวดล้อมในระหว่างการยุบตัว
ระบบดาวคู่เกิดจากการจับกันภายใต้สนามโน้มถ่วง
สมมติฐานของทฤษฎีนี้กล่าวว่า แรกเริ่มมีดาวเพียงดวงเดียวอยู่ก่อนแล้ว และมีดาวใกล้เคียงกันซึ่งถือกำเนิดจากเนบิวลาที่ต่างกัน
ได้รับสนามโน้มถ่วงซึ่งกันและกันจับให้มาโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลร่วมกัน(gravitational capture)
ทำให้ดาวคู่ที่มีลักษณะการเกิดดังกล่าวมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน และอายุของดาวไม่เท่ากัน
ระบบดาวคู่นี้พบได้บริเวณใจกลางของกระจุกดาวเปิด(Globular Cluster) ซึ่งมีสมาชิกอยู่รวมกันหนาแน่น
แนะนำ ดาวคู่บางดวงคือดาว Sirius มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นดวงเดียวแต่หากส่องกล้องมองแล้วเห็นแจกออกเป็นสองดวง
นักดาราศาสตร์บางท่านได้ให้ความเห็นว่าแท้จริงแล้วนั่นระบบสุริยะของเรา ก็มีความเป็นไปได้ที่ดาวพฤหัสบดี จะเป็นคู่ของดวงอาทิตย์เรา
แต่ เนื่องจากกระบวนเริ่มต้นของการเกิดนั้นดาวพฤหัสบดีมีต้นทุนหรือกลุ่มก๊าซ น้อยกว่าดวงอาทิตย์ไปหน่อย (ไม่มากเท่าไหร่แค่ 95 เท่าเอง - -" )
จึงไม่สามารถทำให้เกิดการยุบตัวและมีอุณหภูมิเหมาะสมให้เกิดปฏิกิริยาหลอมรวมอะตอมไฮโดรเจน (Nuclear Fusion Reaction) ขึ้นมาได้
ไม่งั้นโลกเราของจะเหมือนในภาพยนตร์Star wars ในบางฉากที่ดาวบางดวง มีดวงอาทิตย์ 2-3 ดวง ลองคิดดูแล้วคงปวดหัวน่า
ไม่รู้จะนอนเวลาไหน ไปทำงานเมื่อไหร่ วันนึงคงจะมีแสงแดดสัก 19-20 ชม บางช่วงของปีคงไม่ได้เห็นกลางคืนเลย คิดแล้วพิลึกชอบกล
บางครั้งศิลปะ ดนตรี และวิทยาศาสตร์ ของมีทางเดินร่วมกันที่ลงตัว
จรรโลงใจให้ชื่นบาน สร้างสรรค์ เข้าใจธรรมชาติ ได้อย่างสวยงาม
Credit ภาพจาก
//www.lesa.in.th
Astronomy Picture of the Day (Apod) by Nasa
Create Date : 06 มกราคม 2552
Last Update : 3 เมษายน 2555 1:37:51 น.
Counter : 3041 Pageviews.
1 comment
Share
Tweet
joejo99
Location :
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [
?
]
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [
?
]
Friends' blogs
น้ำผึ้งเดือนสิบสาม
Webmaster - BlogGang
[Add joejo99's blog to your web]
Links
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.