The Beatles Anthology บันทึกหน้าแรกของตำนาน
Anthology
1. Free As A Bird (ผู้แต่งดั้งเดิม John Lennon, บีทเทิลส์เวอร์ชั่น John Lennon, Paul McCartney, George Harrison and Ringo Starr) บันทึกเสียง : New York 1977 , Sussex England กุมภาพันธ์/ มีนาคม 1994 โปรดิวเซอร์ : John Lennon, Paul McCartney, George Harrison, Richard Starkey, Jeff Lynne เอนจิเนียร์ : Geoff Emerick
Free As A Bird เดิมเป็นเพลงเดโมเก่าเก็บที่จอห์นบันทึกเอาไว้ตั้งแต่ปี 1977 ในนิวยอร์ค ต้นปี 1994 หลังจากที่โยโกะมอบเทปเพลงของเลนนอน เพื่อนำมาใช้ในการบันทึกเสียง เพลงใหม่สำหรับการกลับมาของเดอะบีทเทิลส์ เดอะบีทเทิลส์ที่ยังเหลืออยู่ทั้งสามคนก็กลับเข้าสตูดิโออีกครั้ง ในสตูดิโอของพอลในซัสเซ็ก เรามโนภาพว่าจอห์นนั้นกำลังไปฮอลิเดย์อยู่ เพียงแต่เค้าทิ้งงานให้เราทำต่อให้เสร็จ ก่อนที่เค้าจะกลับมา พอลนั้นชอบเพลงนี้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เค้าได้ยินมัน ผมชอบทำนองของมัน คอร์ดมันก็เยี่ยม แล้วมันก็มีเสน่ห์กับผมมาก ๆ ส่วนสำคัญอีกส่วนนึงคือมีบางท่อนที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ท่อนที่จอห์นร้องว่า Whatever happened to The Life that we once knew
. อย่างน้อยมันก็เหมือนกับการที่พวกเรากำลังทำงานร่วมกันอีกครั้ง และพวกเราก็จัดการมันจนเรียบร้อย ปัญหาในการบันทึกเสียงนั้นก็คือ ต้นฉบับของจอห์นนั้น บันทึกเสียงในระบบโมโน ซึ่งมีเพียงเสียงร้องของจอห์น และเปียโนรวมมาในแทรคเดียวกัน เจฟฟ์ ลีนน์ถูกตามตัวเพื่อมาโปรดิวซ์งานนี้แทนที่จะเป็น จอร์จ มาร์ติน (แน่นอนจอร์จ แฮริสันเป็นผู้เลือก) ซึ่งเค้าก็สามารถจัดการกับมันได้อย่างยอดเยี่ยม สำหรับเวอร์ชั่นใหม่ของเดอะบีทเทิลส์นั้น มีการเพิ่มเสียงร้องของ พอล จอร์จ และริงโก้, อะคูสติคกีตาร์ของจอร์จ และพอล, เบส ของพอล, สไลด์กีตาร์ของจอร์จ, เปียโนของพอล, เสียงกลองของริงโก้ และสุดท้ายก็คือเสียงร้องของจอห์นที่อัดทับเข้าไปอีก นี่นับเป็นการรียูเนียนในรอบ 25 ปี ของวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก แม้จะเป็นเพียงแค่การกลับมารวมตัวกันบนแผ่นเสียงเท่านั้น !
2.We were four guys
thats all จอห์นให้สัมภาษณ์กับ แจนน์ เวนเนอร์ จากนิตยสารโรลลิ่ง สโตน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 1970 ในนิวยอร์ค
เรามันก็แค่ผู้ชายสี่คน แบบว่า..เอ่อ..ผมเจอกะพอล แล้วก็ชวนเขา นายอยากมาร่วมวงกันไหม? และต่อมาจอร์จก็เข้ามาอีกคน และก็ตามด้วยริงโก้ เรามันก็แค่วงดนตรีวงนึงที่สร้างงานออกมาได้โคตรยิ่งใหญ่ มันก็เท่านั้นเอง 3.Thatll Be The Day (Jerry Allison,Buddy Holly,Norman Petty) 4.In Spite Of All The Danger (Paul McCartney and George Harrison)
บันทึกเสียง : Phillips Sound Recording Service, Liverpool, 1958 เอนจิเนียร์ : Percy F Phillips ราวต้นฤดูร้อนของปี 1958 เดอะควอรีเมน (ในขณะนั้นสมาชิกประกอบไปด้วย จอห์น พอล จอร์จ เล่นกีตาร์ จอห์น โลว์ เปียโน และโคลิน แฮนตันในตำแหน่งมือกลอง) ทั้งห้าหนุ่มเดินทางเข้าเมืองตามไอเดียของพอล เพื่อไปบันทึกเสียงที่ร้านของ Percy Phillips ในเคนซิงตัน ร้านนี้มีห้องสำหรับบันทึกเสียง แล้วก็มีเครื่องตัดแผ่นสำหรับบรรดานักดนตรีวงเล็ก ๆ พวกเค้ารำลึกถึงห้องอัดที่ดำมืดสนิทว่า อากาศ มันเย็นยะเยือก และบรรยากาศยังกะห้องทำฟันเลยทีเดียว เพลงที่เล่นกันในวันนั้นมีทั้งหมดสองเพลง และถูกบันทึกอยู่ในคนละด้านของแผ่นครั่งที่พวกเค้าช่วยกันแชร์กันจนหมดตูด(17 ชิลลิงกับ 6 เพนซ์) ว่ากันว่าทั้งห้านั้นไม่มีเงินสำหรับที่จะก็อปแผ่นเพิ่ม ภายหลังเมื่อจอห์นกลับไปที่ร้านเพื่อพยายามทำก็อปปี้ แต่ก็ช้าไป หลังจากที่มาสเตอร์เทปนั้นถูกอัดทับไปโดยศิลปินอื่นไปซะแล้ว
แผ่นครั่งแผ่นเดียวนั้น จึงเริ่มถูกเวียนฟัง ไประหว่างสมาชิกแต่ละคน และคนสุดท้ายที่เอาแผ่นไปหมกไว้ก็คือ จอห์น โลวน์ ในปี 1981 เค้าพบแผ่นนี้นอนกองอยู่ในลิ้นชักเก็บถุงเท้าในบ้าน โลว์รำลึกความหลังให้ฟังว่า เมื่อข่าวเรื่องที่ผมจะนำแผ่นออกประมูลแพร่ออกไป พอลก็พยายามติดต่อกับผม เค้าได้เบอร์ผมจากแม่ของผมที่ยังอาศัยอยู่ในลิเวอร์พูล มันเป็นของที่มีค่ามหาศาล และพอลก็ไม่ต้องการให้มันตกอยู่ในมือของนักสะสมทั่วไป โลว์นั้นพยายามที่จะนำแผ่นออกประมูลอยู่หลายครั้ง (บางข้อมูลบอกว่าเค้าถึงกับต้องเก็บมันไว้ในตู้นิรภัยแห่งนึงเลยทีเดียว) แต่สุดท้ายพอลก็อาศัยอำนาจกฏหมายและสามารถตามซื้อคืนมาเป็นเจ้าของจนได้ Thatll Be The Day เป็นเพลงเก่าของ Buddy Holly and the Crickets มันฮิตจนติดอันดับหนึ่งในอังกฤษในเดือน กันยายน 1957 พอลนั้นเป็นแฟนพันธุ์แท้ของวงนี้ถึงขนาดต้องตามไปดูคอนเสิร์ตสด ๆ มาแล้ว จอห์นนั้นรับบทพระเอกด้วยการร้องนำ ส่วนพอลนั้นคอยประสานเสียง สำหรับเพลงนี้พอลนั้นเคยนำมาเปิดออกอากาศให้แฟน ๆ ได้ฟังในรายการโทรทัศน์เมื่อ ปี 1985 แต่ครั้งนั้นเป็นแค่บางส่วนเท่านั้น ครั้งนี้เราจะได้ยินกันในเวอร์ชั่นเต็มๆ In Spite Of All The Danger เช่นเดียวกับเพลงแรก จอห์นยังคงร้องนำในเพลงนี้ แต่ตัวเพลงเป็นฝีมือการแต่งร่วมกันระหว่าง พอล กับจอร์จ พอลนั้นเคยบอกว่า ตัวเค้านั้นได้รับอิทธิพลเต็ม ๆ มาจากเพลงของเอลวิส (มีผู้รู้แสดงความเห็นว่าเพลงนี้น่าจะคล้ายกับเพลง Trying To Get To You มากที่สุด แฟนเอลวิสว่าไงครับ? ) ด้วยปัญหาทางคุณภาพเสียงทำให้เราได้ฟังเพลงที่มีการตัดต่อแล้วจาก 3.25 นาที เหลือเพียงแค่ 2.44 แต่แค่นี้ก็เป็นบุญแล้วนะครับ สำหรับเพลงที่บันทึกบนแผ่นเสียงที่มีอายุประมาณ เกือบ 40 ปี เครดิตของแฮริสันในเพลงนี้น่าจะมาจากท่อนโซโลกีตาร์ที่เค้าเป็นคนแต่ง
5.Sometimes Id borrow
those still exist พอลพูดกับ Mark Lewisohn เมื่อ 3 พฤศจิกายน 1994 ในลอนดอน พอล เล่าให้ฟัง ถึงวันที่พวกเค้าพยายามทำอะไรด้วยกันอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก
บางทีผมก็จะยืมเครื่องบันทึกเทปมาสักเครื่อง อาจจะเป็นยี่ห้อกรุนดิกที่มีไฟดวงเล็กๆเป็นตาเขียวๆ และเราก็จะเดินกันไปทั่วบ้านผมเพื่อหาทำเลเหมาะๆในการบันทึกเสียงเพลงอย่าง... เท่าที่ผมจำได้ก็คือ 'Hallelujah, I Just Love Her So' เพราะผมมีแผ่นเสียงแผ่นนั้นของ Eddie Cochran แต่พวกเทปเหล่านั้นมันก็เป็นโฮมเดโมจริงๆ คุณภาพต่ำจัด ผมคิดว่ามีอยู่สักสองอันมั้งที่ยังอยู่ในตอนนี้
*** ขอขอบคุณ บทแปลบางส่วนจากคุณ winston ไว้ตรงนี้ด้วยครับ ***
Create Date : 13 กันยายน 2548 |
|
6 comments |
Last Update : 13 กันยายน 2548 23:31:08 น. |
Counter : 6022 Pageviews. |
|
|
|