English For You: เรียน English แบบใช้ได้จริงๆกันเหอะ
|
||||
The Truths about Bilingual Kids บทที่1: โอกาสฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษา บทที่1: โอกาสฝึกลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ปัญหาของเด็กไทยกับภาษาอังกฤษ ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนเลยว่าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการเด็กแต่อย่างใด แต่เป็นผู้ปกครองคนหนึ่งที่อยากถ่ายทอดประสบการณ์เลี้ยงลูกที่ตัวเองคิดว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ลูกชายผม ณปัจจุบันอายุใกล้จะสามขวบและพูดตอบโต้เป็นภาอังกฤษได้ในระดับที่ผมพอใจและเขายังทำให้ผมและแฟนประหลาดใจในความสามารถของเขาในบางครั้งอีกด้วย อาทิเช่นเขาพูดคำที่เราเคยสอนตั้งแต่สองขวบและเขาก็จู่ๆจำได้ขึ้นมาและพูดออกมาเอง ผมเองก็เหมือนกับพ่อแม่อีกหลายๆท่านที่ต้องการให้ลูกเก่งด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ จากที่ได้เห็นสภาวะปัจจุบันและสมัยก่อนในเรื่องการศึกษา (โดยรวมและในด้านภาษาอังกฤษของเด็กไทย) แล้วนั้นผมได้ตั้งคำถามหลักๆไว้ว่า 1) มันเป็นเรื่องปกติหรือที่เด็กไทยนั้นต้องอ่อนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะด้านการพูดสนทนา? 2) เป็นไปได้ไหมที่เด็กไทยจะมีทักษะด้านภาษาคล้ายเด็กต่างชาติ แล้วจะฝึกด้วยวิธีใด? แน่นอนผมเชื่อว่าหากลูกของเราเก่งภาษาอังกฤษโดยมีการปูพื้นฐานที่ดีแล้วนั้น ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระอีกหลายเรื่อง อาทิเด็กเองไม่ต้องไปกวดวิชาภาษาอังกฤษแบบบ้าคลั่งที่ปัจจุบันนั้นมีหลายคอร์สให้เลือกให้จ่ายเงิน หรือที่สำคัญก็มีเวลาเพิ่มขึ้นที่จะลงกวดวิชาตัวอื่นๆเสริม หรือไม่ก็จะมีเวลาเพิ่มขึ้นในการทำกิจกรรมอื่นๆนอกจากการเรียนกวดวิชาซึ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กยุคนี้ไปเสียแล้ว อย่างไรก็ดีคำถามที่สำคัญคาใจที่ผมเชื่อว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่คงคิดเช่นเดียวดันก็คือเหตุที่เด็กนักเรียนส่วนใหญ่อ่อนภาอังกฤษนั้นเป็นผลพวงของระบบการศึกษาไทย หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน วิธีการสอนไม่ดีพอ หรือเป็นเพราะว่าเด็กยุคหลังๆเรียนยากขึ้นจึงทำให้คะแนนและความสามารถด้านภาษานั้นไม่ดีอย่างชัดเจน? คำตอบนี้ก็ยังคงรอคำอธิบายหรือตอบที่ยังเป็นปริศนาดังเดิม แต่ในฐานะที่เป็นพ่อแม่ที่แข่งขันสูงพอควรและอยากให้ลูกเรียนเก่งๆทำคะแนนได้สูงๆเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนจนถึงสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีตามคาดหวังเพื่อที่นำไปสู่การทำงานที่ดีในอนาคตแล้วนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทักษะภาอังกฤษที่สูงและมีมาตรฐานนั้นเป็นสิ่งที่พวกเราพึงประสงค์ให้ลูกได้รับติดตัวไว้ ดังนั้นการเอาใจใส่ในการให้ โอกาส เรียนรู้ในด้านภาษาคงยังเป็นหนึ่งในหลายๆเป้าหมายที่พ่อแม่ควรเอาใจใส่ต่อการเรียนของลูกหลานต่อไป เด็กสองภาษาเป็นอย่างไร ผมเชื่อเด็กนักเรียนที่ไม่มีปัญหาเรื่องวิชาภาษาอังกฤษหากไม่ใช่คนที่ขยันเรียนในวิชานั้นก็ต้องเป็นเด็กที่มีทักษะภาษาอังกฤษอย่างเป็น ธรรมชาติ และโดยธรรมชาตินั้นก็หมายถึงว่าโดยกำเนิด (เป็นเด็กต่างชาติหรือเด็กฝรั่งนั่นเอง)หรือไม่ก็อยู่ในครอบครัวที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารและได้ฝึกทักษะนั้นตั่งแต่อายุน้อย พวกเราคงเคยเห็นและรู้จักว่าเด็กที่สามารถพูดและเขียนได้มากกว่าหนึ่งภาษา และหากว่าเก่งสองภาษาคือไทยและอังกฤษเราก็จะเรียกพวกเขาว่ามีทักษะ Bilingual นั้นเองร สำหรับผมแล้วคำจำกัดความลักษณะของเด็ก Bilingual นั้นไม่ใช่พูดถึงเด็กที่มีความสามารถเหนือมนุษย์มนา แต่โดยคร่าวๆแล้วควรมีคุณลักษณะดังนี้คือ 1) สามารถพูดและเข้าใจทั้งสองภาษา (ในกรณีนี้คือภาไทยและอังกฤษ) อย่างคล่องเปรียบดังเจ้าของภาษา 2) แสดงออกถึงการใช้และเข้าใจภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ จากทั้งสองคำอธิบายที่สั้นและชัดเจนนี้บ่งบอกให้เห็นถึงลักษณะหลักของเด็กสองภาษาว่าอาจเป็นไปได้ยากกับเด็กไทยส่วนมากที่เติบโตในครอบครัวไทยๆทั่วๆไป เด็กไทยที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเก่ง รู้คำศัพท์ที่ยากและมากมาย และสามารถคุยกับฝรั่งได้อย่างเข้าใจนั้นผมไม่ถือว่าเป็นเด็กสองภาษาครับ เด็กกลุ่มนั่นคือเด็กที่เก่งภาษาอังกฤษที่อย่างไรก็ดีก็ถือเป็นความภาคภูมิใจของทั้งพ่อแม่และตัวเด็กเองที่ได้ประสบความสำเร็จด้านภาษา ดังนั้นจากทั้งสองคำจำกัดความนั้นผมถือว่าความเป็นธรรมชาติในการใช้ภาษาเป็นตัวบ่งบอกหลักถึงความเป็นสองภาษาที่แท้จริง อันเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งและเป็นแก่นสาร ความเป็นธรรมชาตินี่แหละเป็นตัวทำให้เด็กซึมซับกับภาษาเข้าใจการใช้ได้แบบง่าย พวกเขาจะไม่รู้สึกถึงความยากเย็นแสนเข็นเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กไทยที่ต้องกล้ำกลืนฝืนทนเรียนภาษาดั่งเป็นหนึ่งวิชา เด็กสองภาษาจะไม่รู้สึกว่ามันยากจนเกินไปและได้เปรียบในเรื่องของทางลัดในการเข้าใจภาษานั้นๆดุจเจ้าของภาษาเอง เห็นไหมครับว่าหากลูกหลานเราได้ฝึกทักษะสองภาษาได้แล้วก็จะเกิดผลประโยชน์มากมายสู่ตัวเขาเอง
การเป็นBilingual สำคัญไฉน? มาถึงจุดนี้คงมีพ่อแม่หลายท่านที่อาจแย้งผมว่าการกวดวิชาให้เก่งภาษาก็เป็นวิธีที่ดีฝึกฝนภาษา ไม่เห็นจำเป็นต้องฝึกทักษะสองภาษานี่เลยเพราะท้ายสุดสิ่งที่ทุกคนต้องการคือลูกทำข้อสอบได้ ทำคะแนนถึงและเข้าโรงเรียนที่หวังได้ก็เพียงพอแล้ว ไม่ใช่ทุกคนจำเป็นต้องเด่นเรื่องภาษา ท้ายสุดจะมีสักกี่คนเชียวที่จะทำงานด้านภาษาโดยตรง? หรือไม่การพูดถึงทักษะสองภาษานี้โอ้อวดเกินจริง ไม่ผิดหรอกครับ ผมเชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงคิดเช่นนี้ แต่สิ่งที่ผมจะมานำเสนอนั้นเปรียบเสมือนตัวช่วยหรือแนวทางปลูกฝังทักษะเรียนรู้ภาษาอีกหนึ่งรูปแบบอันซึ่งในระยะยาวจะส่งผลดีต่ออีกหลายๆสิ่งที่เขา การเก่งภาษาแบบเชี่ยวชาญนี้เปรียบเหมือนความสามารถที่จะติดตัวเข้าไปยาวนาน ยิ่งในช่วงการเห่อ AECแล้วนั้น หลายคนคงตระหนักว่าการเคี่ยวเข็ญลูกไปกวดวิชาภาษาอาจไม่สามารถตอบโจทย์หลายๆอย่าง หากเด็กได้มีพื้นฐานที่ดีแล้วเข้าก็สามรถเรียนรู้อื่นๆได้เอง นอกจากนี้หากมองถึงระบบการเรียนในโรงเรียนแล้วเกือบทุกโรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ภาษาในระดับสากลมายิ่งขึ้น โรงเรียนจ้างครูต่างชาติมาฝึกนักเรียนด้านทักษะการพูดและฟังซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก กระนั้นเองหากลูกของเรามีพื้นฐานที่ดีกว่าเพื่อนๆหลายก้าว ผมเชื่อว่าเขาจะรับมือได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติ จะยิ่งมีความมั่นใจที่ได้ใช้ความสามารถนั้น ได้แสดงออกมากขึ้นกับวิชาภาษาอังกฤษที่เขาได้ซึมซับประดุจภาษาเองดีกว่าคนอื่นๆอย่างแน่นอนครับ
เด็กสองภาษาคือพรสวรรค์หรือการฝึก ดูจากคำนิยามที่ผมตั้งไว้ตอนแรกแล้ว หลายคนคงสงสัยว่าเด็กไทยสักกี่คนเชียวที่จะสามารถฝึกทักษะได้คล้ายเจ้าของภาษาโดยไม่พึ่งโรงเรียนกวดวิชา หรือไม่ก็จำเป็นต้องมีพ่อหรือแม่เป็นฝรั่งชาวต่างชาติที่คอยสอนภาษาจนพูดได้คล่อง ดังนั้นเด็กสองภาษานี้จะฝึกหรือปั้นได้ไหมและอย่างไร? ถูกแล้วครับ อย่างที่ได้เกร่นมาแรกๆว่าการปลูกฝังทักษะระบบสองภาษาที่แท้จริงนั้นไม่ใช่เป็นผลของการงเรียนเก่งวิชาภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีพื้นฐานด้านภาษาทางฟัง พูด อ่านเขียนที่คล่องแคล้ว ลึกซึ้งในระดับนึงด้วย นั่นก็หมายความว่าลูกหลานต้องถูกปลูกฝังการใช้ภาษาตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้มันนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตเป็นส่วนหนึ่งของจิตใต้สำนึกและส่งผลให้กระบวนการคิด การพูดนั้นเป็นโครงสร้างภาษาอังกฤษโดยตรง ท้ายสุดแล้วเด็กกลุ่มนี้จะเป็นภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ ผมขอสรุปว่าเด็กที่สามารถปั้นเป็น Bilingual นั้นมาจากสองกลุ่มหลักๆคือ 1) เด็กที่โดยธรรมชาติมีพ่อหรือแม่ที่เป็นชาวต่างชาติและใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการพูดและก็ยังใช้ภาษาไทยด้วย 2) เด็กที่มีพ่อหรือแม่หรือทั้งคู่ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและใช้ทั้งสองภาษาในการพูดคุยกับลูก หากคุณอยู่ในกลุ่มใดสักกลุ่มที่ผมพูดถึงก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับว่าลูกของท่านมีแนวโน้มสูงที่จะได้รับทักษะbilingual ที่เรากำลังพูดถึงนี้ แต่ทำไมแค่เพียง'มีแนวโน้ม' หละ ไม่ใช่ว่าจะ 'เป็น'เลยหรือ คำตอบก็คือมันเป็นแค่ความโชคดีของเด็กครับที่มีครอบครัวที่สามารถปลูกฝังพรสวรรค์น้อยๆนี้ให้กับเขา แต่หากขาดการฝึกฝนหรือความตั้งใจจริงในส่วนของพ่อแม่แล้วนั้นก็จะกลายเป็นการเสียโอกาสครับ เราค่อยมาติดตามบทที่ 2 ครับว่าพ่อแม่จะต้องมีส่วนร่วมในการปลูกฝักทักษะ Bilingualนี้อย่างไรบ้างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกันครับ |
K-phone
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?] หวังว่าการเสนอแนะใน Blog ของผมจะมีประโยชน์บ้าง ไม่ได้เป็นการคิดค้นอะไรที่ใหญ่โต แต่เป็นการอาสานำเอาจุดเล็กๆมาฝึกฝน มาขยายเพื่อเกิดประโยชน์ในการใช้ภาษา หากท่านสมาชิกที่เยี่ยมชม Blog นี้มีข้อคิดเห็นก็ช่วยๆกันแนะนำส่งเสริมได้ครับ Free TextEditor Group Blog All Blog
| |||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |